การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 2
คำสำคัญ:
วัยก่อนสูงอายุ, การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) และการเตรียมความพร้อมของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของเขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มประชากร เป็นประชาชนวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) อายุระหว่าง 45-59 ปี สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) ได้จำนวน 432 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ใน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์ (Statistic Analysis) ที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation: r) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression: R) เพื่อหาสมการทำนายตัวแปรตาม
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.3 เป็นประชาชนทั่วไป รองลงมาร้อยละ 22.5 เป็น อสม. และร้อยละ 14 เป็นผู้นำชุมชน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 6.1 (สูงสุด 8 ต่ำสุด 1) ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 20.8 (สูงสุด 24 ต่ำสุด 13) สิ่งสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.1 (สูงสุด 5 ต่ำสุด 0) มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 51.2 (สูงสุด 63 ต่ำสุด 33) การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 7.2 (สูงสุด 11 ต่ำสุด 0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในระดับต่ำถึงปานกลางได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ (r=.376**) รองลงมาเป็นสิ่งสนับสนุนทางสังคม (r=.289**) และพฤติกรรมสุขภาพ (r=.265**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01-.05 หน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบทบาทที่ชัดเจนที่สุด (ร้อยละ 52.2) รองลงมาคือ โรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 21.7) ในขณะที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมเล็กน้อย (ร้อยละ 13) กล่าวคือ มีนโยบาย/แผนงาน/โครงการ ที่ชัดเจนปฏิบัติได้ (ร้อยละ 52.2) มีงบประมาณสนับสนุนระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.8) การให้ข้อมูลด้านสุขภาพในระดับปานกลางในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social network) (ร้อยละ 73.9) มีการประชุมผู้นำชุมชนร่วมกับชาวบ้าน (ร้อยละ 71.7) การจัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ (74.0) เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนในหุ้นส่วนภาครัฐในระดับปานกลาง (ร้อยละ74.0) ประชาชนมีอำนาจการลงมติในประเด็นสาธารณะระดับปานกลาง (ร้อยละ 78.2) และยังพบว่าผู้บริหารระดับนโยบายส่วนใหญ่เสนอให้มีนโยบายหลัก 6 ประเด็นคือ 1) ควรบูรณาการระดับนโยบายให้ชัดเจนเรื่องการมีส่วนร่วมในชุมชน 2) การพัฒนาระบบการออมโดยเฉพาะ กองทุนสวัสดิการชุมชน 3) การเตรียมความพร้อมสุขภาพก่อนวัยสูงอายุ 4) ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยเฉพาะ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ 5) การพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการใช้งานผู้สูงอายุ 6) ระบบสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน
เอกสารอ้างอิง
National Statistical Office Ministry of Digital Economy and Society. (2018). Census data 2018. Retrieved: 29 September, 2561. From http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx (in Thai).
Ministry of Social Development and Human Security. (2017). Measures to drive the National Agenda on Aging Society (Revised Edition). Bangkok : Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (in Thai).
Ministry of Public Health. (2016). 20-year National Strategic Plan on Public Health (2017-2036). Retrieved: 29 September, 2018 from www.moph.go.th › index.php › sitemap.
Wantanee Nuanlaong. (2010). The need for knowledge, skills. and services for elderly patients at home: A case study of relatives caring for elderly patients admitted to inpatient wards Rajavithi Hospital. Master of Social Sciences Thesis, Faculty of Social Work, Department of Social Work, Administration and Social Welfare Policy. Thammasat University.
Charavee Butbamrung (2011). Money management and legal knowledge needs and well-being of the elderly in Salaya Subdistrict Municipality. (Research report). Suan Sunandha Rajabhat University. Research and Development Institute. (in Thai).
Sasana Sukprasert. (2015). Standard of facilities for the elderly in residential and public places. Suranaree University of Technology. Nakhon Ratchasima Province (Research report). Department of Civil Engineering, Engineering Scholar, Suranaree University of Technology.
Print location does not appear (in Thai).
Winai fragrance. (2015). Preparation before entering old age with the quality of life of the elderly in Khae Rai Subdistrict, Krathum Baen District Samut Sakhon Province Master of Public Health Thesis, Faculty of Public Health, Mahidol University.(in Thai)
Ratchapol Amsuk. (2013). Policy proposal on the preparation for entering the elderly of the population, Thesis Thai R.P.A. (Public Policy and Public Management). Graduate School Mahidol University.(inThai)
Wirunphat Bangplakod. (2011). Social Welfare Arrangement on Quality of Life for the Elderly of Local Administrative Organizations. in Bang Krathum District Phitsanulok Province. Thesis Master of Public Administration, Sukhothai Thammathirat Open University/Nonthaburi. (in Thai)
Boontham Kitpreedaborisut. (1997). Social Science Research Methodology. 7th Edition. Bangkok : CharoenPhol Printing Company.
Yameela, Dormae and Supat Theeravejcharoenchai (2011) Factors Affecting Health Promotion Behaviors of the Elderly in the Elderly Club. Bang Bua Thong Hospital Nonthaburi Province Master of Science Thesis Kasetsart University. (in Thai).
Unchuen Chairorrat (2006). Relationship between preparation before entering old age. Getting social support and satisfaction in life of the elderly. Master of Social Science Thesis. Ramkhamhaeng University.(in Thai).
Sopit Thiprat (2008), Selected Factors Associated with Health Promotion Behaviors of Muslim Elderly. Who is a member of the Elderly Club in the Upper Southern Region. Master of Nursing Science Faculty of Nursing Chulalongkorn University. (in Thai).
Kanya Phothipiti (2009). Health behaviors and the risk of cardiovascular disease among the elderly. Master of Education Thesis. Demography and Society, Mahidol University.(in Thai).
Suchada Jaisue (2017) .Factors related to health promoting behaviors of elderly living in high-rise buildings Bangkok . Master of Nursing Science Faculty of Nursing Chulalongkorn University.(in Thai).
Somkiat Iamkanchanalai. (2012). A study of behavior and lifestyle of population in preparing for entering old age : a case study in Bangkok area (Research report). Bangkok : Chulalongkorn University Press.(in Thai).
Pattraporn Srisungnoen. (2014) Participation in social activities of the early elderly people, Bang kruai District, Nonthaburi Province, Master of Arts degree (Social Administration and Development), Faculty of Social Sciences, Kasetsart University (in Thai)
Praphan Musikaphan. (2011). A Study of Integration of Security Policy and Development of Southern Border Provinces. National Defense College. (Research Report) Print location does not appear (in Thai).
Chong Diloksombat (2015). Application of information and communication technology to prepare for entering an aging society for Thailand. National Defense College. (Research Report). Print location does not appear (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.