การพัฒนาการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่งเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ภาคสนามและแกนนำเพื่อเข้าถึงกลุ่ม ชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ในรูปแบบการเรียนออนไลน

ผู้แต่ง

  • นุชนารถ แก้วดำเกิง กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนวงค์ บัวซ้อน กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนออนไลน์, อีเลิร์นนิ่ง, กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง (MSM/TG)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่งเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ภาคสนามและ แกนนำเพื่อเข้าถึงกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง (Men who have sex with men; MSM, Transgender; TG) ในรูปแบบการเรียนออนไลน์ โดยดูผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ออนไลน์และความพึงพอใจของ กลุ่มเป้าหมายที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตร DDC001 กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์ จากองค์กรภาคประชาสังคม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาล จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ภูเก็ต และนครราชสีมา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้คือ หลักสูตรออนไลน์เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ จำนวน 14 เรื่อง แบบวิเคราะห์ชนิดความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) และแบบทดสอบหลังเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยของคะแนนและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า คะแนนหลังเรียน (Post Test) อยู่ระหว่าง 89 - 100 คะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ในการเรียนรู้แบบออนไลน์ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในพื้นที่ได้ ผลการศึกษา มี 4 ด้าน 1) ด้านหลักสูตรและเนื้อหาจำนวน 10 บทเรียน 14 เนื้อหา มีความน่าสนใจ มีประโยชน์ ในการทำงานในพื้นที่ เช่น การทำงานเชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมาย มีความน่าเชื่อถือในเชิงวิชาการ 2) ด้านรูปแบบ Online learning การบรรจุหลักสูตรในพื้นที่ที่มีความหลากหลายในระบบการศึกษา ช่วยเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้ การสร้าง ความสนใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา มีรูปแบบการเก็บข้อมูลของผู้เรียน มีการแนะนำหลักสูตร คำอธิบายชัดเจน สะดวกในการเข้าเรียน 3) ด้านสื่อประกอบการเรียนรู้ มีสื่อประกอบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ซึ่งช่วยในการจดจำ เนื้อหามากขึ้น และ 4) ด้านการประเมินผล มีการประเมินแต่ละบทช่วยทบทวนความรู้เดิมและใช้การสรุปเนื้อหา เปรียบเทียบเป็นระยะ ๆ และการประเมินท้ายบท นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อการทำงาน ในพื้นที่ การวางรูปแบบการนำไปใช้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม เช่น จัดอบรมแกนนำในพื้นที่เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ หลักสูตร DDC001 เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำชำงานเชิงรุกในการยุติปัญหาเอดส

เอกสารอ้างอิง

Bureau of AIDS TB and STIs Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). Pre-Exposure Prophylaxis of HIV prophylaxis in HIV-infected populations, Thailand: HIV - PrEP 2018. Bangkok: Graphic and design publishing house. (in Thai).

Chakkrit Podapol. (2020). online learning management : way of study. Retrieved July 6, 2021, from https://slc.mbu.ac.th/article/28181/ (in Thai).

Department of Disease Control. (2019). Online learning in HIV/AIDS for field staff and leaders to Access to MSM/TG groups. Retrieved July 10, 2019, from http://thaimooc.org/ (in Thai).

Division of AIDS and STIs. (2021). HIV situation in Thailand. Retrieved December 10, 2021, from https://hivhub.ddc.moph.go.th/report.php (in Thai).

Kamonchanok Kaewthong (n.d.). The process of managing teaching and learning E-learning online. Retrieved December 25, 2021, from https://sites.google.com/site/kamonchanok561031350/krabwnkar-cadkar-reiyn-karsxn-e- learning-baeb-xxnlin. (in Thai).

Kwanruethai, Thongbunrit. (2017). Achievement study of students with E-Learning lessons Science and technology for development. Journal of Science and Technology. 3(2): 41-6. (in Thai).

National Committee on AIDS Prevention and alleviation. (2017). National Strategy on Ending AIDS 2017-2030. Bangkok: NC Concept Company Limited. (in Thai).

Oliver, R., & McLoughlin, C. (2001). Using networking tools to support online learning. In F. Lockwood (Ed.), Innovation in open and distance learning: Successful development of online and E-Web-based learning (pp. 160–171). London: Routledge.

Phichittra Thongpanich. (2019). Learning Management and Classroom Management: ADDIE Teaching Model. Retrieved June 1, 2019 From http://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie- model.html. (in Thai).

Ralph W. Tyler. (1994). Contribution to Testing and Curriculum Development, Advisory Role. Retrieved July 15, 2021, from https://education.stateuniversity.com/pages/2517/Tyler-Ralph-W-1902-1994.html

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02

วิธีการอ้างอิง