การวิจัยเชิงประเมินเพื่อพัฒนาต้นแบบอาคารบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สรพงษ์ ทัพภวิมล กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงประเมิน, ต้นแบบอาคารบริการทางการแพทย์, แบบแปลนอาคารโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) เพื่อพัฒนาต้นแบบอาคารบริการทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลต้นแบบอาคารบริการทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิ ที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้าง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาก่อสร้าง และหลังเปิดใช้งาน 3 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบแปลนอาคาร และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.81 พื้นที่วิจัย คือ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จังหวัดนครปฐม วิธีการวิจัยได้ให้ผู้ใช้อาคารประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ที่เลือกมาแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ดูแลอาคารสถานที่ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ เข้ามามีส่วนร่วมตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2555-2564 เก็บข้อมูลแบบแปลนจากเอกสาร และข้อมูลความพึงพอใจ ด้วยวิธีสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และคะแนนความพึงพอใจที่ได้

ผลการวิจัย พบว่า อาคารบริการทางการแพทย์สูง 9 ชั้น ขนาด 300 เตียง ก่อสร้างบนพื้นที่ 4 ไร่ 32 ตารางวา ได้จัดทำ แบบแปลนอาคาร ประกอบด้วย แปลนพื้น 9 ชั้น ชั้นล่าง ชั้นลอย ชั้นหลังคา รูปด้านข้าง 4 ด้าน รูปตัดทิศตะวันออก-ตก และรูปตัดทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ใช้สอย 38,520 ตารางเมตร วงเงินงบประมาณ 807,850,000 บาท ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557 - 2560 กำหนดให้ส่งงวดงาน รวม 35 งวด 1,200 วัน ในปี 2564 หลังอาคารเปิดใช้งานมาแล้ว 3 ปี มีแบบรูปรายการที่เหมาะสม กับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร ผู้ดูแลอาคารสถานที่ ผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการ พึงพอใจมากที่สุด จำแนกได้ดังนี้ การเข้าสู่อาคารที่สะดวกและง่าย โดยผู้บริหารและผู้รับบริการพึงพอใจต่อตำแหน่งที่ตั้งของแผนกต่างๆ ที่เป็นไปตาม ขั้นตอนของการบริการ ผู้ให้บริการพึงพอใจต่อพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอ ผู้ดูแลอาคารสถานที่พึงพอใจต่อการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ระบบวิศวกรรม ครุภัณฑ์ต่างๆ ที่ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยอภิปรายได้ว่า เกิดจากกระบวนการและขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารได้เข้ามามีส่วนร่วม มี 3 ขั้นตอน ตั้งแต่ปี 2555 - 2557 คือ 1) มีการสำรวจการให้บริการแบบเดิม ร่วมกับการคาดการณ์ในอนาคต 2) ศึกษาพื้นที่ใช้สอยของอาคารตัวอย่าง 3) จัดทำแบบแปลนแบบเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อาคาร ได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานให้พิจารณาใช้พลังงานทดแทน กรณีมีโรคอุบัติใหม่ หรือนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาให้บริการต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ มาออกแบบเพิ่มเติม เพราะมีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอ

เอกสารอ้างอิง

Department of Health Service Support. (2007). Guidelines for developing care service. In Dr.Kriengsak Tengamnuay, Guidelines for developing secondary and tertiary care service systems. (2), 14-80. Nonthaburi : Agricultural Cooperative Association of Thailand Printing. (in Thai).

Department of Medical Services. (2012). Mission and Responsibilities. Retrieved April 27, 2012, from http://www.dms.go.th/AboutUs/About_Mission (in Thai).

Department of Medical Services. (2012). Structure and departments under the Department of Medical Services. Retrieved April 27,2012, from http://www.dms.go.th/AboutUs/About_Structure (in Thai).

Design and Construction Division. (2548). Areas and relations between departments. In Chokchai Phasuravanich, Report on the formulation and development of building premises standards of healthcare facilities (11 standards). (13-184). Nonthaburi : Design and Construction Division (in Thai).

Metta Pracharak Hospital (Wat Rai Khing). (2012). History of Metta Pracharak Hospital (Wat Rai Khing). Retrieved April 27,2012, from http://www.metta.go.th/aboutus/vision-mission (in Thai).

Metta Pracharak Hospital (Wat Rai Khing). (2012). Mission and Responsibilities. Retrieved April 27,2012, from http://www.metta.go.th/aboutus/vision-mission (in Thai).

Ministry of Public Health. (2012). Criteria for classifying public health facility under Ministry of Public Health according to Geographic Information System. Retrieved April 27,2012, from http://www.thcc.or.th/download/GIS54.pdf (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02

วิธีการอ้างอิง