ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • ธีระยุทธ บุตรทหาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรในอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยจากรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทับปุดที่มีอายุ 15-59 ปี จำนวน 390 คน ได้จากสูตรทาโรยามาเน่ ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดย และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ Multiple Regression

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พบว่า ส่วนใหญ่ มีเพศชาย อายุระหว่าง 30 – 44 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเวลา 7-9 ปี และทำการฉีดพ่นด้วยตนเอง ส่วนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยภาพรวมอยู่ในระดับบ่อยครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา แตกต่างกัน ในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การรับรู้ความรุนแรงของการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืช และการรับรู้ต่ออุปสรรคการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

เอกสารอ้างอิง

Chantaramanee Namngern. (2017). Behaviors of Chemical Pesticide Uses and the Effectiveness of an Occupational Health Education Program of Safety Knowledge among Farmers in Upriver Area, Phayao Province. Journal of Safety and Health. 10(37): 34-45. (in Thai).

Nuanchawee Sirirat. (2017). Study on Chemical Use Behaviors of Farmers a Pa-O District Lan Sak District Uthai Thani Province. (Master of Arts Degree in Administration, Nakhon Sawan Rajabhat University). (in Thai).

Office of Agricultural Economics. (2019). Indicator data “Amount and value of imported chemical fertilizers and pesticides”. Retrieved September 8, 2021 from http://www.onep. go.th/env_data/01_02/11.

Phrommanee Phatthana. (2015). A development of an agriculturist pesticide usage training model for reducing impacts on health and environment. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University. (in Thai).

Piromchit Pimlada. Paileeklee Suchada. (2014). Knowledge and behavior regarding Pesticide use among Agriculturists in Ban Na Lao, Na Wang District, Nong Bua Lam Phu Province. Journal of Community Health Development. 2(3): 299-309. (in Thai).

Saenthaweesuk Duangjai. (2018). Factors related to pesticide using behavior of people in Bung Wai Sub-district, Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. (Faculty of Public Health, Ubon Ratchathani Rajabhat University). (in Thai).

Suebsimma Chittiphat. Silawan Tassanee. And Khansakorn Nitchaphat. (2017). Pesticides Use and Personal Protective Behaviour, Adverse Health Effects among Chilli Farm Sprayers: A Case Study in Suan Kluai Sub-District, Kantharalak District, Sisaket Province. Thai Journal of Toxicology. 32(1): 8-25. (in Thai).

Tonpoo Patchareeporn. (2017). Factors Related to The Use of Pesticide Behavior That Affecting to Corn Farmer’s Health at Sathan Sub-District, Nanol Distrist, Nan Province. (Faculty of Public Health, Thammasat University). (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. New York: Harper & Row.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-26

วิธีการอ้างอิง