การพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดปัญหาการสั่งใช้ยาและการบริบาลเภสัชกรรมในคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา , การบริบาลเภสัชกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการสั่งใช้ยาของแพทย์และปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย จึงเกิดการพัฒนานวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการสั่งใช้ยาและประเมินประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการสั่งใช้ยา เพื่อเป็นการวางแนวทางในการบริบาลเภสัชกรรมในคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,631 คน ทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2562 โดยทำการศึกษาจากการใช้นวัตกรรมแผ่นชาร์ตรายการยาพ่นในโรงพยาบาลกุมภวาปี โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาจากใบสั่งยา มีการบริบาลเภสัชกรรม โดยวิเคราะห์จากปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยและการประเมินการใช้ยาพ่น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ และ ร้อยละ
โรงพยาบาลกุมภวาปีเป็นโรงพยาบาลทั่วไป พบปัญหาที่สำคัญ คือ การมีแพทย์หมุนเวียนมาเป็นประจำทุกเดือน ปัญหาการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมของแพทย์หมุนเวียนที่เวียนมาตรวจในคลินิก คือ การสั่งใช้ยาเกินขนาดและการสั่งใช้ยาที่ไม่สัมพันธ์กับจำนวนวันนัด ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นในการปรึกษาแพทย์ด้วยปัญหาการสั่งใช้ยาในลักษณะเดิม เภสัชกรจึงได้จัดทำนวัตกรรมแผ่นชาร์ตรายการยาพ่นขึ้นใช้ในโรงพยาบาลกุมภวาปีโดยนำไปติดไว้ที่ห้องตรวจแพทย์ทุกห้องในคลินิกโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพื่อให้แพทย์ทราบถึงการสั่งใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น และการบริบาลเภสัชกรรม โดยเภสัชกรมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย มีผลทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยลดลง ผู้ป่วยสามารถพ่นยาได้ถูกต้องมากขึ้น แนวโน้มการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน การเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน และการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงอีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลต่อปีเป็นจำนวนมาก
จากผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมการใช้แผ่นชาร์ตรายการยาพ่นในคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถนำไปบูรณาการใช้ในสถานพยาบาลอื่นได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในการสั่งใช้ยาต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Nattawat Lertpanitit (2014) Results of pharmaceutical care for asthma patients Dok Khamtai Hospital. Journal of Public Health, Vol. 23, Issue 1 January – February 2014
Siriphan Sringan (2005) Effects of the use of guidelines for treating asthma patients in Nong Ki Hospital, Buriram Province. 2004-2005 Medical Journal Sisaket Hospital, Surin, Buriram, Vol. 20, No 3 September-December 2005
Sunee Lertsinudom, et al. (2008). Management of drug-related problems by pharmacists in asthma easy clinic. Srinakarin Hospital Khon Kaen Province.
Thoracic Society of Thailand , Association of Asthma Organizations of Thailand and et al. (2017). Guidelines for diagnosis of asthma in Thailand in adults, Beyond Company Enterprise Co., Ltd.
Watchara Boonsawad and Sunee Lertsinudom (2010) Asthma and Asthma Easy Clinic: Pharmaceuticalcare Asthma and Chronic Obstructive Pulmonary Disease. 1st KhonKaen: Klangnanawittaya Printing Partnership; 27-37.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.