การพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลสนามบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ณปภัช นฤคนธ์ กองบริหารการสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบบริการการดูแลผู้ป่วย, โรงพยาบาลสนามบุษราคัม, ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลสนาม บุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Approach) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย จำนวนรวม 45 คน จากการคัดเลือกอย่างง่าย โดยแบ่งระยะการศึกษา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์การจัดระบบบริการ ระยะที่ 2 ออกแบบและเตรียมความพร้อม ในการพัฒนาระบบบริการ ระยะที่ 3 ดำเนินการให้บริการดูแลผู้ป่วย และระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.30 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 31.10 เป็นผู้ป่วยที่มา รับบริการในโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ร้อยละ 48.90 ผลการศึกษาระบบบริการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์การจัดระบบบริการ พบว่า สถานการณ์ผู้ป่วยในกรุงเทพและปริมณฑลมีผู้ป่วย จำนวนมากและทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขที่ไม่เพียงพอ ระยะที่ 2 ออกแบบและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบบริการ เพื่อจัดหาทรัพยากรที่เกี่ยวข้องและประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินการ จัดตั้งโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ระยะที่ 3 ดำเนินการให้บริการดูแลผู้ป่วย โดยพิจารณาด้านโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับดีมาก (χ = 4.75) ด้านเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลสนามบุษราคัม อยู่ในระดับดีมาก (χ = 4.82) และระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ ด้านความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ที่สุด (χ = 4.73) และอัตรารักษาสำเร็จ ร้อยละ 98.90 ผลจากการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับการระบาดและรับมือกับโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

ประวัติผู้แต่ง

ณปภัช นฤคนธ์, กองบริหารการสาธารณสุข

กองบริหารการสาธารณสุข

เอกสารอ้างอิง

A. Polchana & C. Mingmalairuk. (2022). The Study of Spatial Field Hospitals to Create Prototype in Public Building. Arch Journal Issue Vol.34 No.1: January-June 2022 (in Thai).

Bangkok Hospital. (2021). Assessing symptoms of COVID-19. Retrieved 20 May 2022. From https://www.bangkokhospital.com/content/ assessing-symptoms-of-covid-19 (in Thai).

Centre for COVID-19 Situation Administration (CCSA) Ministry of Public Health. (2021). Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) situation. Retrieved 10 May 2022. From https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/300464edit.pdf (in Thai).

C. Wongratana. (2017). Techniques for using statistics for research. 13th printing Bangkok : Amorn Printing. (in Thai).

Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (2020). Guide to the prevention and control of corona virus infection 2019 for the people. Bangkok: Printing Cooperative of Thailand. (in Thai).

Emergency Operations Center, Department of Disease Control Ministry of public health. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation, public health measures and limitation to disease prevention and control among travelers. Retrieved 2 May 2022. From https://ddc.moph.go.th/uploads/

files/2017420210820025238.pdf (in Thai).

Health Administration Division Ministry of Public Health. (2021). Documents for the establishment of Busarakham Hospital. Ministry of Public Health, Nonthaburi. (in Thai).

Juneam, N., Kasettath, M., Khunpradit, P., & Tansuwat, S. (2021). Nursing System Management Coronavirus 2019 (COVID-19) in Lamphun Hospital. Journal of the Phrae Hospital. 29 (1): 115-128. (in Thai).

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95).

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health Ministry of Public Health. (2019). Guidelines for working on public health at the area level between the local administrative organization (SAO, Municipality) and the Ministry of Public Health (Health promoting Hospital) Nonthaburi. p. 1 (in Thai).

Public Health Administration Division Ministry of Public Health. (2018) Summary of the Meeting of the Sub-Committee on Establishment and Management of Treatment Services for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), Busarakham Hospital. Ministry of Public Health, Nonthaburi. (in Thai).

S. Nawsuwan, K. Nawsuwan, R. Rodchanaarcha, N. Waichompu. (2022).Factors Influencing Success in Implementing Field Hospitals of Registered Nurses in Songkhla Province. Princess of Naradhiwas University Journal. 14(2) pp 231-246 https://li01.tci-thaijo.org/ index.php/pnujr/article/view/254596 (in Thai).

S. Sawaengsuk. (2022). The Model of infectious waste management for Coronaviruses (COVID-19) in Field Hospital and Community Isolation: A case study of Surin Province. Academic Journal of Community Public Health Vol. 8 No. 3, July–September2022 (in Thai).

Sripatum University. (2021). What is the difference between efficiency and effectiveness?. Retrieved 25 September 2022. From https:// www.spu.ac.th/fac/account/th/content. php?cid=22475 (in Thai).

Strategy and planning division Ministry of Public Health. (2020). Executive Summary: Health Area 10, Fiscal Year 2020. Retrieved 10 May 2022. From http://164.115.23.235:8080/ sms2020/bpsdashboard/ (in Thai).

Strategy and planning division Ministry of Public Health. (2020). Executive Summary: Health Area 10, Fiscal Year 2020. Retrieved 10 May 2022. From http://164.115.23.235:8080/ sms2020/bpsdashboard/ (in Thai).

Teeraporn S. A, et al. (2021). Development of Nursing Administration Model in the COVID-19 Outbreak Situation of Hospitals under the Ministry of Public Health. Journal of Health Science 2021;30(2): 320-333. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-24

วิธีการอ้างอิง