การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชอนสมบูรณ์ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ , โรคเบาหวาน , การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนและการเสียชีวิตที่สำคัญ ปัญหาที่พบคือ ปี 2562 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชอนสมบูรณ์ จำนวน 17 คน คิดเป็นอัตราป่วย 634.33 ต่อแสนประชากร โดยมีอัตราป่วยมากกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดลพบุรี ที่มีอัตราป่วย 517.45 ต่อแสนประชากร โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในปีที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงสนใจพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพ โดยเป็นการวิจัย และพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานพร้อมพัฒนานวัตกรรม ซี่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ดำเนินงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชอนสมบูรณ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้รับผิดชอบงานอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในปี 2563 จำนวน 27 คน และปี 2564 จำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ก่อนจัดกิจกรรมมีจำนวนมากขึ้น และรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ยังขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและขาดการติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด หลังจากพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากหลายหน่วยงาน มีนวัตกรรมให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบใหม่ มาดำเนินการจำแนกเป็นรายปี มีอัตราป่วยโรคเบาหวานลดลงจากปี 2562 อย่างต่อเนื่อง โดยหลังดำเนินการ ปี 2563 และปี 2564 มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 444.61, 518.33 ต่อแสนประชากรตามลำดับและประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีผลน้ำตาลต่ำกว่า 125 mgdl เพิ่มขึ้นโดยปี 2563 ร้อยละ 77.77 และปี 2564 ร้อยละ 76.66
สรุปได้ว่าการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน ทำให้เกิดรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีคุณภาพ สามารนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินงาน ในการพัฒนาบุคลากร และงานทั้งหลายของหน่วยงาน ซึ่งจะสามารถนำไปขยายผล และประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆสู่ระดับจังหวัดและประเทศต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Chaikaew, Sopha. (2019). Enhancing motivation to change behavior in diabetic patients. High blood pressure Ban Tha Kham Health Promoting Hospital Mueang Chiang Mai District Chiang Mai Province. Retrieved September 29, 2019,from http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20201117144657.pdf (in Thai).
Department of Disease Control.(2020). Situational Report on NCDs, Diabetes, Hypertension and related risk factors 2019 .Bangkok: Graphic and Design Publishing House. (in Thai).
Department of Health Service Support.(2013). Guidelines for provincial health behavior change.Retrieved September 20, 2019, from http://hed.go.th/ linkHed/file/577 (in Thai).
Division of Non-communicable Diseases.(2564). Annual Report 2020; Bangkok: Graphic and Design Publishing House. (in Thai).
Inthawichian, Suksan.(2012). Sustainable participative health behavior change in diabetes risk group.Kasetwisai District Roi Et Province. Journal of the Office of Disease Prevention and Control No. 6, Khon Kaen. 19(2):65-75. (in Thai).
Sukdee, Sirinet et al.(2017). Development of a health behavior modification model for chronic non-communicable disease risk groups with the process of participating in knowledge management of communities in Bangkluea Subdistrict Chachoengsao Province. Journal of Health Education. 40(1):38-52.(in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.