ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • นายสุวัฒน์ โคตรสมบัติ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, สมรรถนะการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาพตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยการคัดเลือกกลุ่มอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย จำนวน 268 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ใช้สูตรเพียร์สันโปรดักโมเม้นต์ (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 51.90 (139 คน) มีอายุเฉลี่ย 39.77 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 67.90  (182 คน) มีระยะเวลาปฏิบัติงานที่กรมสนับสนุนน้อยกว่า 5 ปี มากที่สุดร้อยละ 52.60 (141 คน) มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ( = 3.95, SD = 0.61) และระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ( = 4.31,
SD = 0.54) ผลความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงาน พบว่า แรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับสมรรถนะการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
(r = 0.650**) ดังนั้นการพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ
ระบบสุขภาพภาคประชาชน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยบุคลากรที่มีสมรรถนะ
การปฏิบัติงานสูง โดยการสนับสนุนและเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบุคลากรเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ได้

เอกสารอ้างอิง

Department of Health Service Support. (2022). Strategy. Retrieved October 31, 2022, from https://hss.moph.go.th/index2.php? form=2.(in Thai).

Kongkasawat, T. (2007). Competency in practice: how they do it. Bangkok: Technology Promotion Association (Thai-Japanese). (in Thai).

Lwandee, P. (2016). Job Motivation and Job Satisfaction among Nurses in Banphaeo Hospital Public Organization. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1). (in Thai).

Office of the Civil Service Commission (OCSC). (2009). Handbook for determining competencies in the civil service. Bangkok: Office of the Civil Service Commission (OCSC). (in Thai).

Rassameethammachot, S. (2006). Competency based learning. Bangkok : Siriwattana Interprinter

Saritwanich, S. (2006). modern organizational behavior. Bangkok : Thammasat University

Best J.w. (1977). research in education (2nd ed). Englewood cliffs: New Jersey : Prentice Hall.

Herzber F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Yankittinukul, K (2016). Compliance with the main competencies of Marine Department officials. Thesis Master of Arts, Ramkhamhaeng University. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21

วิธีการอ้างอิง