การประเมินโครงการบริการสุขภาพช่องปาก ผู้ต้องขังเรือนจำกลางชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พนิดา ชุมจันทร์ โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, การบริการสุขภาพช่องปาก, ผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินเพื่อประเมินผลโครงการบริการสุขภาพช่องปากผู้ต้องขังเรือนจำกลางชลบุรี ครอบคลุมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ในการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังที่รับบริการทันตสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบ้านบึง ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 393 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อผู้ต้องขังที่เข้ารับบริการตรวจฟันเชิงรุก และในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ทำการเก็บข้อมูลจาก ผู้ปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข ผู้บัญชาการเรือนจำ บุคลากรฝ่ายสวัสดิการผู้ต้องขัง และตัวแทน อาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ความคิดเห็นของผู้ต้องขังต่อบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมาก (M=4.41, SD=0.35; M=4.10, SD=0.22; M=4.00, SD=0.18; M=4.18, SD=0.17) ผู้ต้องขังเห็นความสำคัญและต้องการเข้ารับ บริการสุขภาพช่องปาก พื้นที่ให้บริการ อุปกรณ์และบุคลากรมีความเหมาะสม แนวทางการดำเนินงานมีความเหมาะสม ส่งผลให้ผู้ต้องขังมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและมีความต้องการ ให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้ต้องขัง ทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานมีพร้อมบางส่วน แต่ควรมีการพิจารณา จำนวนบุคลากรทางด้านทันตสาธารณสุขให้เพียงพอต่อการให้บริการ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ ผู้ต้องขัง และบุคลากรเข้าใจแนวทางการเข้ารับบริการเป็นอย่างดี ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ยังมีความต้องการ ให้มีการจัดบริการอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการควรนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการ

เอกสารอ้างอิง

Department of Corrections. (n.d.). Prisoners’ Statistical report in Thailand. Retrieved May 14, 2022, from http://www.correct.go.th/ rt103pdf/report_result.php?date=2022-05- 01&report= (in Thai)

Hfocus. (n.d.). More than 80% of prisoners have oral health problem: Tooth decay and periodontitis are the most prevalent disease. Retrieved May 14, 2022, from https:// www.hfocus.org/content/2020/01/18282 (in Thai)

Kantawong, N. & Rotsakoonpanit, C. (2020). Manual of Oral Health Service in Prison (1stedition). Bureau of Dental Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (in Thai)

Piaseu, N., Junda, T., Sanongdej, W., Kraithaworn, P., Tantiprasoplap, S., Noinam, S., Keawpugdee, J., Kongcheep, S., Krongthaeo, S., Gaesawahong, R., & Srisuk, W. (2022). Impacts and Resilience in Covid-19 Pandemic: Case study of Prison and Communities in Bangkok. Bangkok: Health Systems Research Institute. (in Thai)

Puektes, S., Sawasdipanich, N., Khasemophas, D., Lohacheewa, S., Thongpaiboon, P., Rojanaprasert, P., Chankhao, C., Roykulcharoen, V., Sriyaporn, A., & Chawmathagit, C. (2017). Analysis of Approaches to Improving the HealthcareFacility for Women’s Inmates. Thai Journal of Nursing Council, 32(1), 94-114. (in Thai)

Srisatidnarakul, B. (2020). Effect size, power analysis, optimal sample size calculations using G*Power software. Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Stufflebeam, D. L., & Zhang, G. (2017). The CIPP evaluation model: How to evaluate for improvement and accountability. Guilford Publications.

Thairath Online. (n.d.). Good Health Good Heart. Retrieved May 14, 2022, from https:// www.thairath.co.th/news/local/2082315 (in Thai)

Watthanasaen, S., Janthapa, A., Tanigo, G., Panyaphou, S., & Inkla, P. (2017). Associations between oral health behaviors and oral health related quality of life among prisoners in KhonKaen central prison. Thai Dental Nurse Journal, 28(1), 101-113. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24

วิธีการอ้างอิง