การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลปราณบุรี
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565 ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ทุกรายที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์และศึกษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา
ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปราณบุรีที่ได้รับยา
ฟาวิพิราเวียร์จำนวนทั้งหมด 1,393 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.28) อายุมากกว่า 60 ปี (ร้อยละ 51.32) มีน้ำหนักร่างกาย 18-59 กิโลกรัม (ร้อยละ 63.46) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 55.78) ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มอาการ asymptomatic or symptomatic covid-19 with risk factors or mild pneumonia (ร้อยละ 87.80) โดยระยะเวลาการได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ 5 วัน (ร้อยละ 99.28) และไม่มีการใช้ยาอื่นๆ ในการรักษาโควิด-19 ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ (ร้อยละ 97.70) ผลการตรวจเอ็กซเรย์ปอดพบผลตรวจปกติ (ร้อยละ 46.37) ผลตรวจออกซิเจนในเลือด (SpO2) ปกติคือ มีค่ามากกว่า 94 % (ร้อยละ 98.49) และผู้ป่วยมีประวัติการรับวัคซีนโควิด-19 สูงสุด จำนวน 3 เข็ม (ร้อยละ 36.04) การเฝ้าระวังอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์พบภาวะผู้ป่วยตามีฟ้า คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ตามลำดับ
ดังนั้นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ณ โรงพยาบาลปราณบุรี พบว่าไม่พบอาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง พบเพียงอาการอันไม่พึงประสงค์ในระดับเล็กน้อย เช่น ตาสีฟ้า คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายเองหรือใช้ยารักษาตามอาการ
คำสำคัญ: อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, ฟาวิพิราเวียร์, โควิด-19
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.