แนวคิดการพัฒนาเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะทางประชากร ปัจจัยนำเข้าปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลท่าช้าง และ 2)หาแนวทางพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในตำบลท่าช้าง จำนวน 360 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.คุณลักษณะทางประชากร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-40 ปี สมรสแล้ว และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือ ปวช. ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนปัจจัยนำประชาชนตำบลท่าช้างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง การเข้าร่วมกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกจะใช้วิธีการใส่ทรายอะเบทเป็นประจำทุก 3 เดือน และมีความคิดเห็นว่าการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นหน้าที่ของทุกคน ด้านปัจจัยเอื้อลักษณะสภาพบ้านเรือนมีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลำคลองลักษณะบริเวณรอบบ้านมีหญ้ารกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้เดินทางไปต่างจังหวัด ด้านปัจจัยเสริมการเคยได้รับข้อมูลความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาและได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ ช่องทางที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคไข้เลือดออกมากที่สุดคือการจัดให้มีการอบรมให้ความรู้
- แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลท่าช้างอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยากำหนดไว้ 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ยุทธศาสตร์สร้างเครือข่ายการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน 2. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารระบบสารสนเทศในชุมชน และ 3. ยุทธศาสตร์สร้างจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกรวม 3 เป้าประสงค์ 8 ตัวชี้วัด และ 11 กิจกรรม
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.