การศึกษาผลกระทบการบังคับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์และพัฒนาการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นุชนาฏ กิติวรนนท์ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • อมรรัตน์ เลิศมโนญาน กองควบคุมเครื่องมือแพทย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • จิตรา ชัยวิมล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์, ผู้ประกอบการ, ข้อกำหนด

บทคัดย่อ

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ (Good Distribution Practice for Medical Devices (GDPMD)) ซึ่งครอบคลุมการจัดการ การเก็บรักษา การขนส่ง การติดตั้ง และการบริการ เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้บริโภคได้ใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบการบังคับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ 2) ปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ให้เหมาะสมสำหรับประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสรุปรายงานผลการตรวจประเมินสถานประกอบการและแบบสอบถาม ทำการศึกษาโดยนำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์มาใช้ในการตรวจประเมินสถานประกอบการของผู้ประกอบการจำนวน 32 ราย และการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการจำนวน 111 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือมาตรฐานด้านการจัดการเครื่องมือแพทย์หรือด้านการบริหารจัดการ หรือมีประสบการณ์การนำระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานมาประยุกต์ใช้ และผลการตอบแบบสอบถามผู้ประกอบการเห็นว่า ข้อกำหนดฯมีความเหมาะสมร้อยละ 61 ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการนำหลักเกณฑ์ไปประยุกต์ใช้ระดับปานกลางร้อยละ 47 ระดับมากร้อยละ 14 ไม่มีความพร้อมร้อยละ 38 และไม่มีความเห็นร้อยละ1 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ถ้ามีการบังคับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ในปี พ.ศ. 2561 ควรมีระยะเวลาผ่อนผัน 3 ปีหลังการบังคับใช้ โดยต้องการการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้านการอบรม หน่วยงานให้คำปรึกษาและค่าใช้จ่าย และควรปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ให้มีเนื้อหากระชับ เหมาะสม และปฏิบัติได้ ข้อเสนอแนะ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรกำหนดกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม กำหนดรูปแบบที่ชัดเจนในการบังคับใช้หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากกับผู้บริโภครวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และมีการพัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยตรวจประเมินและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

เอกสารอ้างอิง

The Medical Device Act B.E.2551, (2008, 5 March). Royal Gazette. Vol.125 Part 43 kor.

Health Sciences Authority. Regulatory Guidance, Medical Device Technical specification, TS-01 Good Distribution Practice for Medical Devices – Requirements 01 September 2012 revision 2.1. Retrieved July 17, 2018. From http://www.hsa.gov.sg/content/dam/HSA/HPRG/Medical_Devices/Overview_Framework_Policies/Guidances_for_Medical_Device_Registration/TS-01%20R2.1.pdf

Medical Device Authority. Ministry of Health Malaysia. Regulatory Requirements for Medical Device Safety& Performance. Good Distribution Practice for Medical Devices (GDPMD), MDA/RR No 1 : November 2015 First Revision. Retrieved July 17, 2018. From https:// www.mdb.gov.my/mdb/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=285

The Public Health Ministerial Notification on Rules, Procedures and Conditions of Reporting of Device Malfunction, Adverse Effects and Corrective Action of MedicaI Devices, (2016,4 May). RoyaI Gazette . Vol.133 Special Part 102 ng , 1-3.

Ministry of Public Health (2015). Food and Drug Administration. Risk classification for Medical Devices Rules. The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง