แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุข อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พัชรวัฒน์ พัชรเกียรติกนก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามพราน

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, สมรรถนะ, ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน(Mixed Method Research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีวิธีดำเนินการประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความต้องการ การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 19 คน และผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามพรานทั้งหมด จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การประเมินปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามพราน จำนวน 10 คนที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ (Χ = 4.38, SD = .47) ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความต้องการพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำ (Χ = 4.55, SD = .41) และความต้องการการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ (Χ = 4.56, SD = .38) ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม (Χ = 4.66, SD = .39) และผลการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามพราน มองถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญคือ ภาระงานที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน และประเมินแนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะถึงการวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะสามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้เป็นอย่างดี

 

เอกสารอ้างอิง

Strategic and Planning Division. (2018). Guidelines for development of the subdistrict healthpromoting hospital 2018. Retrieved on April 22, 2018, from www.dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/qa/webblqs/asp/starhospitalManual2561.pdf1

Yompook, S. (2011). Performance of the sub-district health promoting hospital Administrators. Office Permanent Secretary, Ministry of Public Health. College, Christian University.

Office of the Civil Service Commission. (2010). Competency Determination Manual in Civil Service: Manual Specific performance based on job characteristics. Bangkok: Prachoomchang publisher.

Samphran District Public Health Office. (2017). Summary of ethical and moral performance. Annual 2560. Samphran District Public Health Office: Nakhon Pathom.

Kamsan, B. (2011). Participation of multidisciplinary team in primary care services. Master of Social Work, Thammasat University.

Panyakeal, A. & Buaphan, P. (2011). Management Factor And organizational management processes that affect Key performance of the head of health center Northern Zone, Khon Kaen. Research Journal of Khon Kaen University. 16 (7): 855 – 863.

Spencer M. Lylm. & Spencer M. Signe. (1993). Competence at work : Models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง