การป้องกันและควบคุมวัณโรคในสถานกักตัวคนต่างด้าว

ผู้แต่ง

  • วชิรพันธ์ ชัยนนถี สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • ชาติวุฒิ ธนบัตร สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุม, วัณโรค, สถานกักตัวคนต่างด้าว

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของเรือนจำทั่วโลก รวมถึงห้องกักตัวที่ตั้งอยู่ในสถานกักตัวคนต่างด้าวซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ใช้สำหรับกักตัวคนต่างด้าวที่กระทำความผิดและพ้นโทษแล้วอยู่ระหว่างรอการส่งกลับซึ่งส่วนใหญ่ถูกจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย สถานกักตัวคนต่างด้าวมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสูง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์วัณโรค การดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรครวมทั้งปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันควบคุมวัณโรคในสถานกักตัวคนต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องกักต่างด้าวที่ถูกกักตัวในสถานกักตัวคนต่างด้าวเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป หรือผู้ต้องกักต่างด้าวที่มีอาการสงสัยของวัณโรค จำนวน 3,407 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการตรวจคัดกรองวัณโรค และ รายงานสรุปผลการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาของแพทย์จากโรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษา ผลการตรวจคัดกรองผู้ต้องกักต่างด้าวตั้งแต่ 1 มกราคม 2556-31 ธันวาคม 2558 จำนวน 3,407 ราย พบว่ามีผู้ต้องกักเป็นวัณโรคปอด จำนวน 12 ราย (ชาย 5 ราย และหญิง 7 ราย) ได้รับยาครบตามแผนการรักษา 8 รายได้รับยาไม่ครบตามแผนการรักษาแต่ต้องส่งกลับประเทศโดยจัดยาให้ไปรับประทานต่อที่ประเทศของผู้ต้องกัก 4 ราย วิธีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค ใช้การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกโดยการคัดกรอง การวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยใช้ผลการตรวจวินิจฉัยและสูตรยารักษาของโรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วยไปตรวจรักษา ได้แก่ โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลเซ็นหลุยส์ เมื่อพบผู้ป่วยจะมีการคัดแยกผู้ต้องกักต่างด้าวที่ป่วย แต่ยังไม่สามารถแยกผู้ป่วยให้มาอยู่ห้องแยกเดี่ยวได้เนื่องจากห้องมีจำนวนจำกัด การกำกับการกินยาทุกมื้อใช้วิธีประสานความร่วมมือกับผู้ต้องกักที่เป็นหัวหน้าห้องดูแลกำกับให้รับประทานยา พร้อมใช้วิธีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และการใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรค ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบส่วนใหญ่ เกิดจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความร่วมมือในการดำเนินงาน ความจำกัดของสถานที่และความจำกัดของบุคลากร ดังนั้นควรดำเนินการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องกักต่างด้าวอย่างต่อเนื่องทุกปีเพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ต้องกักต่างด้าวได้รับการรักษาอาการป่วยตั้งแต่ระยะแรก ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิต และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค นอกจากนี้ควรใช้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดนในกรณีที่ผู้ต้องกักได้รับการส่งกลับแต่ยังรับประทานยารักษาวัณโรคไม่ครบตามแผนการรักษา รวมทั้งศึกษารูปแบบบริหารจัดการป้องกันและควบคุมวัณโรคที่มีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

Aerts, A., Hauer, B., Wanlin, M., Veen, J. (2006). Tuberculosis and Tuberculosis control in European prisons. International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 10: 1215-1223.

Centers for Disease Control and Prevention. [CDC], (2006). Prevention and Control of Tuberculosis in Correctional and Detention facilities: Recommendation from CDC,55(RR09),1-44. Retreived March 1,2017 from https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mwrhtml/rr5509a1.htm?s_cid=rr509a1_e.com

Cheewakriengkrai, S. (2004). A manual for health care operation in the Immigration Detention center. Bangkok: International communicable Disease Control Group, Bureau of General Communicable Diseases.

Hutchison, D.C.S., Drobniewski, F.A., Miburn, H.J. (2003). Management of multiple drug–resistant Tuberculosis, Respir Med, 97(1), 65-70.

Jittimanee, S., Ngamtrairai, N., White, M., Jittimanee, S. (2007). A Prevalence Survey for smear–positive Tuberculosis in Thai Prisons. International Journal Tuberculosis and Lung Disease, 11: 556-561.

Jittimanee, S., Ngamtrairai, N. (2009). Guideline for Tuberculosis Control Implementation In Thai prisons. Bangkok: Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control.

Jitwiwat, W., Ngamtrairai, N., Soymoree, B. (2005). Model development for Tuberculosis Diagnosis in prisons. Thai journal of tuberculosis chest diseases and critical care. 26(3): 175-184.

Kamolrattanakul, P. (2001). Tuberculosis Control Model in Thai prisons. Bangkok: Chulalongkorn University.

Lobacheve, T., Asikainen,T., Giesecke, I. (2007). Risk Factors for Developing Tuberculosis in remand persons in St. Peterburg, Russia- a case–control study. European Journal of Epidemiology, 22: 121-127.

Miller, TL., Hilsenrath, P., Lykens, K., McNabb, S.J..N., Moonan, P.K., Weis, S.E. (2006). Using Cost and Health impacts to prioritize the targeted testing of Tuberculosis in the United States. Annuals of Epidemiology, 16:305-312.

Ngamtrairai, N. (2003). The effects of supportive educative nursing system on self care of pulmonary tuberculosis prisoners.(Master of Science (Public Health) Thesis). Mahidol University.

World Health Organization. WHO Report 2009 Global Tuberculosis control-surveillance, Planning, Financing.2009 [Cited 2016 Aug 15]. Available from http:// www.who.int/countries/tha/en/

World Health Organization. (2012). Global Tuberculosis report 2012. Retrieved March 1, 2017, from http://www.who.int/tb/publications/global_report/gtbr12_main.Pdf.

Wong, M., Leung, C., Tam,C., Kam, K., Ma, C., Au,K. (2008). TB Surveillance in Correctional Institutions in Hong Kong, (1999-2005). The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 12: 93-98

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง