การศึกษาความพร้อมของระบบสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อรองรับการสาธารณสุขอาเซียน ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • ปิยะฉัตร ปาลานุสรณ์
  • ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริพร ประนมพนธ์ กลุ่มแผนงาน สำนักบริหาร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

ระบบสนับสนุนบริการสุขภาพ, การสาธารณสุขในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, การสาธารณสุขอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาถึงระดับความตระหนักรู้เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ความคิดเห็นด้านสถานการณ์สุขภาพตามแนวชายแดนของประเทศไทยทั้งระดับความสำคัญในปัจจุบัน และระดับความคาดหวังการดำเนินการในอนาคตของบุคลากรหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประการที่สอง เพื่อทราบถึงระดับความสำคัญต่อภารกิจกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (จำแนกตามภารกิจกลุ่มงาน) ส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรหน่วยบริการสุขภาพ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และประการสุดท้าย เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไขการดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพของบุคลากรหน่วยบริการสุขภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรหน่วยบริการสุขภาพที่ปฏิบัติงานในจังหวัดที่มีพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ตราด ตาก มุกดาหาร สงขลา และสระแก้ว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 261 คน จำนวน 5 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และ 2. เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสอบถามปลายเปิดและวิธีเก็บข้อมูลหลายวิธี คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์ (interview) การประชุมกลุ่มย่อย (focus group) และการตรวจเยี่ยมสำรวจดูงานพื้นที่ (observe activities)

ผลการศึกษา ในวัตถุประสงค์ประการแรกพบว่า ทั้ง 5 จังหวัดมีค่าเฉลี่ยของระดับความตระหนักรู้เรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไม่แตกต่างกัน บุคลากรด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีความรู้พื้นฐานด้านนี้เป็นอย่างดี โดยบุคลากรในจังหวัดตากจะมีค่าเฉลี่ยของระดับความตระหนักรู้เรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระดับสูงสุด สำหรับระดับความสำคัญของการดำเนินการและระดับความคาดหวังในการดำเนินการในอนาคตของระบบสนับสนุนบริการสุขภาพ ผลการพิจารณาภาพรวมใน 5 จังหวัดพบว่า ประเด็นเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นรายข้อสูงสุด ประเด็นเรื่องโรคติดต่อมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นรายข้อต่ำสุด ในวัตถุประสงค์ประการที่สองระดับความสำคัญต่อภารกิจกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (จำแนกตามภารกิจกลุ่มงาน) ส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรหน่วยบริการสุขภาพ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษพบว่า จังหวัดตราดและจังหวัดตากมีความคิดเห็นว่ากลุ่มภารกิจนโยบายและยุทธศาสตร์และสุขภาพภาคประชาชน มีบทบาทหรือความสำคัญต่อการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่สูงสุด จังหวัดสงขลาและจังหวัดสระแก้วมีความคิดเห็นว่ากลุ่มภารกิจภูมิภาค (สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ 12 เขต) มีบทบาทหรือความสำคัญต่อการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่สูงสุด จังหวัดมุกดาหารมีความคิดเห็นว่ากลุ่มภารกิจพิเศษ มีบทบาทหรือความสำคัญต่อการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่สูงสุด ผลการศึกษาวัตถุประสงค์ประการสุดท้าย คือ ปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ จำนวนบุคลากรไม่สอดคล้องเหมาะสมกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ทีมงานที่ให้บริการขาดสมรรถนะ และทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการแก่ชาวต่างชาติในพื้นที่ ขาดความรู้ด้านการสื่อสารภาษาอาเซียน ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยมีข้อเสนอแนวทางแก้ไขการดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ ขยายกรอบอัตรากำลังในหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เสริมสร้างศักยภาพทีมงานและทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการแก่ชาวต่างชาติในพื้นที่ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ด้านภาษาต่างๆ มากขึ้น กำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ปรับแก้ระเบียบด้านกฎหมายบริเวณชายแดนให้เป็นช่องทางพิเศษและสนับสนุนยานพาหนะให้หน่วยงานบริการสาธารณสุขมีใช้อย่างเพียงพอ

ประวัติผู้แต่ง

ปิยะฉัตร ปาลานุสรณ์

กลุ่มแผนงาน สำนักบริหาร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

เอกสารอ้างอิง

Department of Health in Sustainable Development, World Health Organization. ( 2 0 0 2 ) . Health and sustainable development : key health trends. Geneva: World Health Organization. Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/68755/1/WHO_HDE_HID_02.2.pdf

Health Systems Research Institute. (2005). Public guide for learning public policy: get to know bill of Special Economic Zone.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University Supported by the World Health Organization and the European Union. (2014). 16The Survey of Thai Public Opinion toward Myanmar Refugees and Migrant Workers: A Case Study of Kanchanaburi Province. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University Supported by the World Health Organization and the European Union. (2014). The Survey of Thai Public Opinion toward Myanmar Refugees and Migrant Workers: A Case Study of Mae Hong Son Province. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University Supported by the World Health Organization and the European Union. (2014). The Survey of Thai Public Opinion toward Myanmar Refugees and Migrant Workers: A Case Study of Ratchaburi Province. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Retrieved from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/PDF/Report-File-479.pdf

Institute for Population and Social Research, Mahidol University Supported by the World Health Organization and the European Union. (2014). The Survey of Thai Public Opinion toward Myanmar Refugees and Migrant Workers: A Case Study of Tak Province. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University Supported by the World Health Organization and the European Union. (2014). The Survey of Thai Public Opinion toward Myanmar Refugees and Migrant Workers: An Overview. NakhonPathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.Retrieved from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/PDF/Report-File-475.pdf

Office of Strategy and Planning, Ministry of Public Health. (2016). Framework for solving problem and developing border’s public health in 2016 - Second draft (2012-2016).

Office of Strategy and Planning, Ministry of Public Health. (2015). Supporting public health in Special Economic Zone planning for 5 years (2016-2020).

Office of The National Economic and Social Development Board. Developing of Special Economic Zone in Thailand.

The Thailand Research Fund. (2009). The second generation of migrants from Myanmar: situation and problem in public health.

The Office of the PrimeMinister . (2013). Regulations of the Office of the Prime Minister on Special Economic Zone.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง