การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ จันทรักษ์ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่ายสุขภาพ, ตำบลจัดการสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ พื้นที่ตำบลจัดการสุขภาพทั่วประเทศ 1,003 ตำบล ประชากรเป้าหมาย 67,800 คน คำนวณตัวอย่าง โดยประมาณค่าสัดส่วนประชากร กำหนดสัดส่วนประชากรเท่ากับ 0.10 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมให้มีการคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 คำนวณกลุ่มเป้าหมาย 138 คน แต่การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาในเขตตรวจราชการทั้ง 12 เขต จึงปรับเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง เขตละ 30 คน รวมทั้งหมด 360 คน การสุ่มเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยขั้นตอนที่ 1 สุ่มหยิบสลากจังหวัดเป้าหมาย เขตละ 1 จังหวัด ขั้นตอนที่ 2 สุ่มหยิบสลากอำเภอ เขตละ 1 อำเภอ ขั้นตอนที่ 3 สุ่มหยิบฉลากตำบล เขตละ 1 อำเภอ ขั้นตอนที่ 4 สุ่มเลือกเฉพาะเจาะจงตำบลละ 30 คน ที่เป็นภาคีเครือข่ายสุขภาพและขับเคลื่อนงานตำบลจัดการสุขภาพ ดำเนินการช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค โดยค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้ ด้านแรงจูงใจ และด้านการมีส่วนร่วม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76, 0.78,และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ใช้สถิติการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Perason Product Moment Correration)

ผลการวิจัยพบว่า 1) แกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพขับเคลื่อนงานตำบลจัดการสุขภาพ ดังนี้ 1.1) ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.20 1.2) ด้านความรู้ ระดับปานกลางร้อยละ 76.90 1.3) ด้านการรับรู้ ระดับปานกลาง ร้อยละ 78.10 1.4) ด้านแรงจูงใจ ระดับปานกลางร้อยละ 60.30 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนพัฒนางานตำบลจัดการสุขภาพ ประกอบด้วย บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในชุมชน การรับรู้ต่อการพัฒนา และระดับแรงจูงใจในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ 3) เมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ์พบว่า 3.1) ลักษณะส่วนบุคคล ระดับความรู้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ แต่การมีบทบาทหน้าที่ในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนางานตำบลจัดการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2) ระดับการรับรู้และระดับแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ดังนั้น การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ มีการรับรู้ที่ถูกต้อง มีเป้าหมายในการพัฒนาชัด ทำให้เกิดแรงจูงใจและส่งผลต่อการพัฒนา ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพในระดับที่สูงขึ้นและประสบความสำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

สำนักพัฒนาวิชาการและการจัดการความรู้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2558). สรุปสถานการณ์สุขภาพคนไทยในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2559. จาก https://phpp.nationalhealth.or.th.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). แนวทางการนิเทศงานตำบลจัดการสุขภาพดี วิถีชีวิตไทย ปี 2555. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ ปี 2558. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี. เอกสารอัดสำเนา.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University , 1981.

ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. 2539. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS/PC. กรุงเทพฯ : ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 126.

วนิดา วิระกุล และคณะ. (2547). การประเมินผลศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมเกียรติ ออกแดง. (2554). การประยุกต์ใช้กระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนูญ พลายชุม. (2553). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเยาวชนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. (2553). การเสริมพลังอำนาจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไปพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เบญจวรรณ สุภาพ. (2552). การดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของแกนนำชุมชนในเขตนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง. วิทยานิพนธพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์เทพ ดีเสมอ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสุขภาพภาคประชาชน ในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง