ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด ค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วงศพัทธ์ บุญมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเพลินวัฒนา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด, รูปแบบจิตสังคมบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Analytic cross sectional study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) ค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปี 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัด ค่ายขวัญแผ่นดิน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 131 คน ในเดือน เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2559 คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square

ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.42 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.86 มีอายุ 41 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สมรส มีความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือปวช. และประกอบอาชีพรับจ้างมากสุด ข้อมูลการใช้ยาเสพติดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดมีประสบการณ์ใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิด ชนิดของยาเสพติดที่ใช้ครั้งแรก ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า เริ่มใช้ยาเสพติดครั้งแรก อายุ 10 – 19 ปี และบุคคลในครอบครัวที่มีพฤติกรรมใช้ยาเสพติดมากที่สุด คือ บิดา ข้อมูลความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดพบว่า ภาพรวมของความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ข้อมูลทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องว่าการที่บุคคลสามารถเลิกยาเสพติดได้สำเร็จควรได้รับความยกย่องชมเชย แต่ภาพรวมทัศนคติของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดต่อการใช้ยาเสพติดโดยเฉลี่ยยังไม่ถูกต้อง ข้อมูลประเมินการทำหน้าที่ในครอบครัว พบว่า ภาพรวมการทำหน้าที่ในครอบครัวโดยเฉลี่ยทำหน้าที่ได้ไม่ดี หรือไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ข้อมูลความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว และสภาพแวดล้อมในชุมชนพบว่า ภาพรวมของความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว ผู้เข้ารับการบำบัดเลือกจะอยู่กับเพื่อน รวมทั้งเชื่อฟังเพื่อนมากกว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองเพราะกลัวเพื่อนจะเลิกคบ ส่วนสภาพแวดล้อมพบว่า ภายในชุมชนของผู้เข้ารับการบำบัดจะมีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติดอาศัยอยู่ด้วย ด้านประสิทธิผลของการบำบัดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ร้อยละ 51.14 สามารถเลิกใช้สารเสพติดได้ เมื่อทดสอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) พบว่า สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)

จากผลการวิจัยดังกล่าว ประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) ยังไม่ดีพอและควรปรับปรุง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกผู้ป่วยยาเสพติดที่เหมาะสม เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน และภายหลังจากการติดตามผลการบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว ควรจะมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยยาเสพติดและชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Chagphimai, C., Sritanasal, P. (2555). Self-Defense Behaviors from Drugs of Students at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (Research report). Bangkok: University of Technology North Bangkok.

Chaipichitpan, N. (1998). A study of factors affecting amphetamine relapsing behavior of secondary school students treated in Thanyarak Hospital (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.

Department of Public Health Services Section. (2560). Matrix program. (2nd edition). Samut sakhon: Born To Be Print LTD.

Netnuengyai, R. (2014). Thai youth’s voluntary applications of drug treatment. (Doctoral dissertation). Phuket: Phuket Rajabhat University.

Pattanachinda, M. (1997). A study of media exposure in drug prevention campaign. People in KhonKaen: A Case Study of Higher Education Students Khon Kaen University. (Research report). KhonKaen: KhonKaen University.

Saraburi witthayakhom school. (2017). Strategies to prevent drug use and substance abuse. Retrieved June 5, 2017, from https://sites.google.com/site/.../naewthang-kar-pxngkan-sar-seph-tidni-chumchn

Supawong, A. (2005). Effectiveness of treatment for drug addicts following psychosocial therapy model. Thungsong Hospital. Nurse Prince of Songkla University, 36(extra), 160-169.

Thatsananchalee, T. (2009). The process of non-becoming amphetamine addict : a case study of rehabilitated person in process of correctional system. (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Yangyuen, S., Thitisutthi, S. (2015). The evaluation of behavior modification camp on drug users, Mahasarakham Province. Journal of Community Health Khonkaen University, 3(4), 605-622.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง