การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในจังหวัดสระบุร

ผู้แต่ง

  • อังคณา จรรยากุลวงศ์ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอาย, จังหวัดสระบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ทดลองใช้รูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี โดยใช้การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการ โดยการสัมภาษณ์กระบวนการกลุ่มและวิเคราะห์นำมาใช้จัดทำแบบสอบถาม จำนวน 48 ข้อ ประชากรที่ศึกษาที่ปรึกษาและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ทั้ง 14 แห่ง รวม 250 คนและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 154 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบ โดยการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ปรับปรุงและประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้ และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความพึงพอใจจากการใช้รูปแบบ โดยสอบถามกับที่ปรึกษาและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จำนวน 2 แห่งๆ ละ10 คน รวม 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลความหมายตามเกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ถึง พฤษภาคม 2560

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 2) โครงสร้างโดยรวมของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ประกอบด้วยด้านการบริหารและด้านการดำเนินงาน ด้านละ 5 ภารกิจ 3) บทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มี 5 ภารกิจ (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 6 ภารกิจ (3) ชมรมผู้สูงอายุมี 6 ภารกิจ (4) หน่วยบริการปฐมภูมิ มี 7 ภารกิจ (5) กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มี 4 ภารกิจ และ (6) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบล มี 5 ภารกิจ รูปแบบมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์ทั้งด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36, 3.57, และ 4.10 ตามลำดับ และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ข้อแสนอแนะ ควรสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนายุทธศาสตร์ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการจัดทำแผนงาน/โครงการให้แก่คณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. บริษัท ที คิว พี จำกัด; 2553.

ปราโมทย์ ประสาทกุลและปัทมา ว่าพัฒนพงศ์. จุดเปลี่ยนประชากรประเทศไทย ใน สุรีย์พร พันพึ่ง และมาลี สันภูวรรณ์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2554: จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย นครปฐม: สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. คู่มือการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ; 2557.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ10 มี.ค. 2560] ค้นจากhttp://thaitgri.org/images/document/Research_tgri

ลัดดา ดำริการเลิศ. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน.เวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.กรุงเทพฯ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ที คิว พี จำกัด; 2555.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระบุรี. เอกสารอัดสำเนา; 2560.

วัยเฟิล ซิวสารี และศิริพงษ์ มาณะศรี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสาร มมร. วิชาการล้านนา. 2558; 1: 40-42.

Yamane, Statisties and Introductory Analysis. 2nd (ed).New York: Harper and Row; 1973.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที 9). นนทบุรี: ไทเนรมิตอินเตอร์โปรเกรสซิฟ ; 2553.

Keeves, P.J. Educational research, methodology, and measurement :An international handbook. Oxford : Pergamon Press; 1988.

วรานิษฐ์ โชคนิธินิรันดร์,). การบริหารภาครัฐในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร.วารสารเซนจอร์น. 2558; 22.

พัชรา สังข์ศรี. แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้สูงอายุในภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

ปราโมทย์ น้อยวัน, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ และ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. แนวทางการจัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2; 2554.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น มหาสารคาม : สุวีริยาสาส์น;2545.

รัตนะ บัวสนธ์. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา.นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์; 2554.

ธนีนาฎ ณ สุนทร. การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การบริหารคุณภาพสำหรับกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

Getzels, Jacob, James W. Lipham, and Roald Campbell. Educational Administration as a Social Process. New York: Harper & Row; 1955.

ศิริดา บุรชาติ.การวิจัยและพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพบัณฑิต สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา.วารสารวิจัย มข.2554; 4: 101.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง