การศึกษาสำรวจความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

ผู้แต่ง

  • สุทธิพร เทรูยา สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ด้วยเทคนิค Delphi และจัดทำแบบสอบถามประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ในสถาบันบำราศนราดูร

ผลจากการศึกษาพบว่า สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ประกอบด้วย 3 กลุ่ม สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะทั่วไปที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ บุคลิกภาพ และทัศนคติ2) สมรรถนะด้านวิชาชีพเกี่ยวกับ การนวัตกรรม การวิจัย และการจัดการองค์ความรู้3) สมรรถนะทางเทคนิค เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่

การประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ในสถาบันบำราศนราดูร ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดี (Mean ± S.D.=3.7028 ± 0.3171) ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะทั่วไปอยู่ในระดับดี(Mean ± S.D.=3.7140 ± 0.8481) ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะด้านวิชาชีพอยู่ในระดับดี(Mean ± S.D.=3.5578 ± 1.0059) และค่าเฉลี่ยของสมรรถนะ ทางเทคนิคอยู่ในระดับปานกลาง (Mean ± S.D.=3.4219 ± 0.9938)สมรรถนะที่มีความเร่งด่วนอันดับแรกที่จะต้องมี การปรับปรุงแก้ไขคือ ความรู้ในการทำวิจัย

ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ในการคัดสรรบุคลากร เข้าปฏิบัติงาน และข้อมูลที่ได้รับยังสามารถใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ต่อไปในอนาคต

ประวัติผู้แต่ง

สุทธิพร เทรูยา, สถาบันบำราศนราดูร

สถาบันบำราศนราดูร

เอกสารอ้างอิง

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2017) HIV infection situation Thailand 2017. Mr. Thitipong Yingyong, Editor, 1st edition, April 2018 AIDS epidemiological surveillance system development group, Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control Ministry of Public Health, Nonthaburi. ( in Thai)

Chamchuri, D (2006) “The primary responsibility and competency of professional nurses working to care for HIV and AIDS patients. Bureau of Nursing, Department of Medical Services, Ministry of Public Healt. (in Thai).

Chan Tha Chin, C and Thanasil, S (2551) The effect of using symptom management program on medical adherence among HIV infected persons receiving highly active antiretroviral therapy Journal of AIDS, 18(4): 201-213 (in Thai).

Chaosombat, S, et al (2004) Work practices National access to antiretroviral therapy services For infected people and AIDS patients. Bangkok, Printing Agriculture Cooperatives of Thailand. (inThai)

Department of Communicable Disease Control Ministry of Public Health (1994) Guidelines for Guidance Services about AIDS “4th edition (revised edition) Bangkok: Veterans Organization Printing Press: 10-11, 95-100 (in Thai).

Division of Nursing, Bureau of Public Health Ministry Roles according to job characteristics of professional nurses Operating Retrieved February 20, 2008, from http://digital_collect.lib.buu.ac.th/ (in Thai)

Hirunyapakorn Sunanta., Lokityothin Lamaiporn., Pumchoke Ponghathai (2004) Nursing competency evaluation of professional, Nopparatrajthanee Hospital. Bulletin of the Department of Medical Service. Vol. 29 No. 12 December 2004 (in Thai).

Kaewmanee Sudjit. (2006). “Symptoms and management of food for people receiving antiretroviral therapy in the hospitalSouthern Region.” Journal of AIDS, Year 18, Volume1:2006; 42-54 (in Thai).

Nursing Group Bamrasnaradura Institute, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2003) “Training Manual Nursing course in Ambulatory CareFor HIV / AIDS” ,3rd edition, Nonthaburi: 26-42 (in Thai).

Petchsri Sirinirund (2008). National AIDS Prevention and Alleviation Committee 2008 Ungass Country Progress Report, Thailand; Status at a glance Bangkok (in Thai)

Siripongprecha, N (2005) Study of Side Effects of Nevirapine in HIV-Infected Children Bamrasnaradura Institute. Journal of Disease Control, 31(4): 315-320 (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20

วิธีการอ้างอิง