การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวแบบปลักแรตโมเดล
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน , คลินิกหมอครอบครัว , ปลักแรตโมเดลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการปฏิบัติงานด้านการรักษา ด้านการเข้าถึงบริการ และด้านคุณภาพบริการของบุคลากรกลุ่มคลินิกหมอครอบครัว 2) ศึกษาความเชื่อมั่นต่อบริการคลินิกหมอครอบครัวแบบปลักแรตโมเดลของผู้รับบริการ 3) ศึกษาความพร้อมของบุคลากรกลุ่มคลินิกหมอครอบครัว และ 4) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวแบบปลักแรตโมเดลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 4 แห่ง ด้านกำลังคน อุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ ผู้รับบริการ จำนวน 232 คน และการสัมมนากลุ่ม คือ บุคลากรกลุ่มคลินิกหมอครอบครัว จำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการปฏิบัติงานด้านการรักษา ด้านการเข้าถึงบริการ และด้านคุณภาพบริการ ของบุคลากรกลุ่มคลินิกหมอครอบครัวอยู่ในระดับมาก 2) ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่นในการมารับบริการ เนื่องจากคุณภาพการรักษาของแพทย์และพยาบาล เดินทางสะดวก และลดค่าใช้จ่าย 3) บุคลากรมีความพร้อมในการดำเนินงานโรคเรื้อรัง และการเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ แต่ด้านกำลังคนควรมีการสนับสนุนเพิ่มเติม และ 4) แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวแบบปลักแรตโมเดลสามารถสนองตอบนโยบายด้านบริการที่มีคุณภาพปลอดภัย ลดความแออัด และลดการรอคอย ลดความเหลื่อมล้ำ และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
Khongyuen, N. (2017). Primary care service system with development standards. Public Health & Health Laws Journal, 3(3), 374-387. (in Thai).
Ministry of Public Health. (2003). Practice guideline of integral health service for primary care unit. Nonthaburi: Department of Health Service Support. (in Thai).
Ministry of Public Health. (2016). Standard of primary care unit under the design and construction division. Nonthaburi: Department of Health Service Support. (in Thai).
Ministry of Public Health. (2017). Self care for non communicable disease reduction in Thai style. Nonthaburi: Department of Non Communicable Disease. (in Thai).
Ministry of Public Health. (2018). Inspection report 2018: Service Plan. Nonthaburi: Department of Health Service Support. (in Thai).
National Reform Steering Assembly. (2016). The report of the commission health care reform in primary health care reform. Retrieved July 20, 2019, from https://www. parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_ parcy/ewt_dl_link.php?nid=38938 (in Thai).
Office of Community Based Health Care Research and Development. (2007). The collection of the speech in guideline to primary care service development. Bangkok: Usa printing. (in Thai).
Opartjirawirote, W. (2003). Health care system and health training in Australia. Budachinaraj Journal of Medicine, 20(3), 243-250. (in Thai).
Opartjirawirote, W. (2011). Case study in Home ward care. Budachinaraj Journal of Medicine, 28(3), 300-304. (in Thai).
Plakrat Sub-district Health Promoting Hospital. (2019). Annual report 2019. Kamphaengphet: Health promotion section.
Srivichai, W. (2018). Survey of health provision by primary care cluster in Tak Province: Expectation, utilization of health service, and satisfaction of the target patients and caregivers. Burapha Journal of Medicine, 5(1), 64-82. (in Thai).
Suriyawongpaisan, P. (2015). Assessment of health policy on promoting family care team. Nonthaburi: Health Systems Research Institute. (in Thai).
Tangcharoensathien, V. (2017). Workload and productivity in sub-district health promoting hospital. Nonthaburi: Health Systems Research Institute. (in Thai).
The working group of implement and health care reform. (2016). The guideline for Primary care cluster. Retrieved August 8, 2019, from http:// bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ Guidelines%20PCC.pdf (in Thai).
Vallakitkasemsakul, S. (2011). Research methodology in behavioral sciences and social sciences. Udon Thani: Aksonsin printing.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.