การประเมินผลการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออก อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ปราณ สุกุมลนันทน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • อัจฉริยา มหาวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • ภฤศ แกมคำ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอภักดีชุมพล

คำสำคัญ:

การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน, โรคไข้เลือดออก, การประเมินผล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออกอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการประเมินผลแบบ CIPP model กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการตำบล จำนวน 35 ราย ผลการศึกษาพบว่า ระดับการดำเนินงานจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออกภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.88, S.D. = 0.42) ด้านบริบทการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.01, S.D. = 0.47) โดยคณะกรรมการตำบลเห็นความสำคัญในการดำเนินงานจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและเน้นการมีส่วนร่วม ด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.74, S.D. = 0.61) ปัญหาที่พบ คือ งบประมาณไม่เพียงพอและแผนงานโครงการระหว่างหน่วยงานไม่สอดคล้องกัน มีการใช้สารเคมีควบคุมโรคปริมาณมาก ขาดการบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมีที่ถูกต้อง และการสื่อสารความเสี่ยงในชุมชนไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ด้านกระบวนการการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.00, S.D. = 0.52) จุดแข็ง คือ มีนวัตกรรมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย เช่น ธนาคารขยะ ธนาคารปลากินลูกน้ำและสมุนไพรไล่ยุง จุดอ่อน คือ ขาดการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้านผลผลิต การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.80, S.D. = 0.59) พบว่าอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 60 ลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ร้อยละ 57.13 และพบว่าจำนวนลูกน้ำยุงลายลดลง ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Bureau of Vector Bourne Disease Department of Control Disease Ministry of Public Health.(2016). Dengue Hemorrhagic Fever Situation Thailand Week 50, 2016. Dengue Hemorrhagic Fever Situation Thailand 2016

Chaiyaphum Provincial Health Office. (2016).Dengue Hemorrhagic Fever Situation Week 52.Dengue Hemorrhagic Fever Situation 2016.

Dao Weiangkham et al. (2017). The Effect of Dengue Hemorrhagic Fever Prevention Program on Knowledge, Attitude and Practice of Community Leaders in Muang District,Phayao Province. Journal of Nursing and Health Care, 35(1) : 207 – 214.

Mathuporn Polpong, Sophie Nima and Prachayapan Petchuay. (2017).Development of a Participative Model for Prevention and Control of Dengue Hemorrhagic Fever in Koksak Sub District,Bangkeaw District, Phatthalung. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Special edition) : 243 – 259.

Natee Chaona et al. (2019). A systematic review of larvicidal effect of essential oils from plants against Aedes aegypti larvaes. Disease Control Journal, 45(3) : 221 – 231.

Ongart Charoensuk. (2016). Applied Epidemiology for Prevention and Control of D.H.F.. Bureau of Epidemiology Department of Control Disease Ministry of Public Health. Samut Sakhon Province : Born To Publishing Company Limited.

Rattanaporn Dusit, Sumattana Glangkarn and Jiraporn Worawong. (2017). The Development of Preventive Model of Dengue Haemorrhagic Fever at Community Level in Hun Village, khwao Sub-District, Maung District,Mahasarakham Province. Nursing Public Health and Education Journal, 18(3) : 107 – 116

Siriluk Maneeprasert. (2017). Development of Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Model Using Community Participation in Samut Sakhon Province. Journal of Health Science, 26(2) Special edition : 309 – 319.

The Office of Disease Prevention and Control 5th Nakhon Ratchasima. (2014). Manual for The Management of Vector Mosquitoes Dengue Hemorrhagic Fever in accordance with Integrated Vector Management. Nakhon Ratchasima Province: Lertsilpa Sasana Holding Limited Partnership.

Tuanjai Labkosa, Wirat Pansila and Somsak Sripugdee. (2016). The Prevention Model of Dengue Hemorrhagic Fever by The Participation of Community Health Leaders, Muangboa Sub-District, Chumphonburi District, Surin Province. Thaksin University Journal, 19(1) :44 – 54.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-31

วิธีการอ้างอิง