การสร้างเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบบูรณาการ “กินกลับหลังกับการออกแรงเคลื่อนไหวร่างกาย”
คำสำคัญ:
กินกลับหลัง, กินกลับหลังกับการออกแรงเคลื่อนไหวร่างกายบทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบบูรณาการ “กินกลับหลังกับการออกแรงเคลื่อนไหวร่างกาย” กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ปฏิบัติการ คือ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีภาวะโภชนาการเกิน และผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 68 คน การวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย 2) การกำหนดรูปแบบการแก้ปัญหา 3) การปฏิบัติการตามรูปแบบ และ 4) การประเมินผล รูปแบบการแก้ไขปัญหา ใช้เวลา 1 ปี (เมษายน 2560 - เมษายน 2561) มีกิจกรรมสำคัญ 4 เรื่อง คือ (1) การสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (2) การจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (3) การสื่อสารกลุ่ม ด้วยไลน์กลุ่ม “กินกลับหลัง” และ (4) การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม และประเมินสภาวะสุขภาพด้วยเครื่องตรวจมวลร่างกายแบบยืน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดมีพฤติกรรมการไม่รับประทานอาหารรสหวาน อาหารไขมัน และอาหารรสเค็มในระดับสูง ส่วนการรับประทานผักผลไม้สดรสไม่หวานอยู่ในระดับปานกลาง มีการออกกำลังกายในระดับปานกลาง ส่วนผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ พบว่า ดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัว และเส้นรอบเอว มวลไขมันในร่างกายลดลงส่วนมวลกล้ามเนื้อ และระดับความแข็งแรงของร่างกายเพิ่มขึ้น
การวิจัยเรื่องนี้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมโครงการ และรูปแบบที่นำมาใช้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่อื่นๆได้
เอกสารอ้างอิง
Chulabhorn Sota (2011) Concepts, Theories and Applications for Health Behavior Development. (3rd edition). Khon Kaen: Khon Kaen University Press
Health Center 6, Khon Kaen. (2008). The effectiveness of the Health Behavior Change Program. Pichit Pung Health Center Staff 6.(Research Report). Khon Kaen: Health Center 6 Khon Kaen.
Health Education Division, Department of Health Service Support Ministry of Public Health. (2016). Integrating with learning management to change health behaviors in the Strategic Health Behavior Change Manual (Nor. 23-26). Nonthaburi: Printing Division of Health Education Department of Health Service Support Ministry of Public Health
Health Exercise Division, Department of Health, Ministry of Public Health. (2012) Prevention and treatment of chronic non-communicable diseases through exercise. (Nor 114-120). Bangkok: Printing Affairs Office War Veterans Organization
Jai Phet Klajan (Doctor Kiew) (2017). Decoding Health, Volume 3, Let’s become a doctor, take care of yourself. (23rd edition). Bangkok:Usa Printing.
Nawaphan Jinnapa. (2008) Health Promotion Behavior of Public Health Officers Kanchanaburi Province (Research Report).
Bangkok: Mahidol University
Office of Health Insurance, Region 7 Khon Kaen. (2017). Training Manual for the Application of Dharma Medicine Principles Family Building a Healthy Way to Dharma Project For the hundreds of people who are substanceless, without
belly, without disease. Kalasin: Saipu Phu Phan Printing House.
Somma Saeng and Faculty. (2018). Evaluation of research project to build a healthy family, Dharma way for Kalasin without belly. Disease free. Kalasin: Kalasin LP Partnership.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.