ความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลมุกดาหาร
คำสำคัญ:
การติดเชื้อ, การดื้อยาต้านจุลชีพ, เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมบทคัดย่อ
การติดเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae (CRE) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและพบกระจายไปทั่วโลกซึ่งการติดเชื้อ CRE ทำให้มีข้อจำกัดในการรักษาเพราะเชื้อนี้ดื้อต่อยาหลายกลุ่ม ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและแนวโน้มของเชื้อ CRE ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมุกดาหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2561 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ ควบคุม ป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลมุกดาหารให้มีคุณภาพมากขึ้น จากการศึกษาพบเชื้อ Enterobacteriaceae จำนวน 3,663 ราย พบว่า 1,289 ราย ดื้อต่อ 3rd cephalosporins และเป็นเชื้อ CRE จำนวน 54 ราย (ร้อยละ1.5) จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเชื้อ CRE มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีโดยพบร้อยละ 1.1, 1.5 และ 1.8 ตามลำดับ โดยพบเชื้อ CRE มากที่สุดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม (ร้อยละ 2.4) และส่วนใหญ่พบในเพศชาย (ร้อยละ 55) สิ่งส่งตรวจที่ตรวจพบเชื้อ CRE มากที่สุดคือปัสสาวะ ร้อยละ 2.3 รองลงมาคือเสมหะ หนองจากแผล และเลือด ร้อยละ 1.8, 1.2 และ 1.0 ตามลำดับ เชื้อ K. pneumoniae เป็น CRE มากที่สุด ร้อยละ 2.5 รองลงมาคือ Enterobacter spp. และ E.coli ร้อยละ 1.8 และ 1.2 ตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้พบเชื้อ CRE มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะทำงานเฝ้าระวังการดื้อยาของโรงพยาบาลควรร่วมกันทำการประเมิน ทบทวน และฟื้นฟูความรู้ในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ เพื่อแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
Atipookanok, S., Wittawatmongkol, O. Guideline for Antibacterial Prophylaxis Administration in Pediatric Cancer and Hematopoietic Stem Cell Transplantation. Retrieved February 10,2020, from http://pidst.or.th/A786.html (in Thai)
Codjoe, F., & Donkor, E. (2018). Carbapenem resistance: A review. Medical Sciences. 6(1):1-28
Edwards, S. J., Emmas, C. E., & Campbell, H. E. (2005).Systematic review comparing meropenem with imipenem plus cilastatin in the treatment of severe infections Current medical research and opinion. 21(5): 785–794
Falagas, M. E., Tansarli, G. S., Karageorgopoulos, D. E., & Vardakas, K. Z. (2014). Deaths attributable to carbapenem-resistant Enterobacteriaceae infections. Emerging infectious diseases. 20(7): 1170-1175.
Hawkey, P. M., & Livermore, D. M. (2012). Carbapenem antibiotics for serious infections. Bmj. 344:43-47.
Khantee, P., Chokephaibulkit, K. Update of Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae.Retrieved March 20, 2019, from http://www.pidst.or.th/A464.html (in Thai)
Kiratisin,P. (2016). Textbook of Medical Bacteriology.3rd ed. Bankok: V.J.Printing Press. (in Thai).
Lesho, E. P., Clifford, R. J., Chukwuma, U., Kwak, Y. I.,Maneval, M., Neumann, C., McGann, P. (2015). Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae and the correlation between carbapenem and fluoroquinolone usage and resistance in
the US military health system. Diagnostic microbiology and infectious disease. 81(2):119–125.
Livermore, D. M. (2002). Multiple mechanisms of antimicrobial resistance in Pseudomonas aeruginosa: Our worst nightmare? Clinical infectious diseases. 34(5): 634–640.
Luvira, V. (2006). Overveiw of antibiotic resistance. Songklanagarind Medical Journal. 24(5): 453–459. (in Thai)
NARST : National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, THAILAND. Retrieced March 20, 2019, from http://narst.dmsc.moph.go.th/data/map2561.pdf (in Thai)
Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwattananon S. (2012). Health and Economic Impacts of Antimicrobial Resistant Infections in Thailand : A Preliminary Study. Jornal of Health Systems Research. 6(3):352-360. (in Thai)
Sumpradit, N., Wongkongkathep, S., Poonpolsup,S., Janejai, N., Paveenkittiporn. W., Boonyarit,P., Jaroenpoj, S., Kiatying-Angsulee, N.,Kalpravidh, W., Sommanustweechai, A., & Tangcharoensathien, V. (2017). New chapter in tackling antimicrobial resistance in Thailand. BMJ. 358:j3415.
Thongkoom, P., Kanchanahareutai, S.,Chantrakooptungkul, S., Rahule, S.,Pupan, M., Tuntrakul, P., Masan, N., &
Teammongkolrat, L.. (2017). CarbapenemResistant Enterobacteriaceae at Rajavithi Hospital: Results of a Microbiology Laboratory Program (2009-2015). Journal of Medical Association of Thailand. 100(1): 212-220. (in Thai)
Wiener, J., Quinn, J. P., Bradford, P. A., Goering, R. V.,Nathan, C., Bush, K., & Weinstein, R. A. (1999). Multiple antibiotic–resistant Klebsiella and Escherichia coli in nursing homes. JAMA.281(6): 517–523.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.