ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
การวิจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สำหรับหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการสุขภาพ ของ กองสุขศึกษา (2562) ประชากรที่ศึกษาเป็น อสม. ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยการคัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติคือ ฟัง พูด สื่อภาษาไทยได้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างน้อย 6 เดือน และสมัครใจเข้าร่วมศึกษา ขนาดตัวอย่าง 223 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า อสม. มีความรอบรู้อยู่ในระดับดีมากคือมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มากเพียงพอต่อการปฏิบัติตนได้ถูกต้องจนเชี่ยวชาญและยั่งยืน ร้อยละ 45.74 ระดับดี คือ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอต่อการปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ร้อยละ 39.01 ระดับพอใช้คือมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเล็กน้อยต่อการปฏิบัติตนได้ถูกต้องบ้าง ร้อยละ 12.11 และระดับไม่ดี คือ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตน ร้อยละ 3.14 สำหรับพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก คือ มีพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมร้อยละ 53.36 รองลงมาอยู่ในระดับดี คือ มีพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.77 และระดับพอใช้คือมีพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องเล็กน้อย ร้อยละ 9.87
เอกสารอ้างอิง
Chuprasert, Thippawan, Chanmanee, Ploy Pailin.(2019). A study of Health literacy and Health behavior Of village health volunteers (VHV.). In the health zone that 11. Retrieved January 5, 2020, from http: do11.new.hss.moph.go.th: 8080/fileupload_doc/2019-09-03-1-18-2840654.pdf (in Thai).
Health Education Division. Strengthening and assessing health literacy and health behavior in children and Youth (aged 7-14 years) People aged 15 or older Revised version 2018. 2018 (in Thai).
Health Education Division, Health Assessment and Health Behavior Assessment Report 2018, Bangkok. (in Thai).
Khowacharoen, Kannika, & Bunrueang, Aphaphon (2016). Health Behavior and Health Risk of Village Health Volunteers. 2016. Retrieved January 10, 2020, from http://conference.nu.ac.th/nrc12downloadPro.php?plD=126&file.=126.pdf (in Thai).
Ngasaengsai, Praphatsorn,Sornsiyon,Prida,Pattharabenjaphon, Suwanna. Case study of health intelligence of Village volunteers.Northeastern Pharmacy, 2014; 9: 82-7.(in Thai).
Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. National Health Development Plan, 12th edition (2017-2021). Retrieved January 12, 2020, from http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/HealthPlan12_2560_ 2564.pdf (in Thai).
Roma Wimon and the Faculty. (2018). The complete report of the Health Knowledge Survey Project of Thai people aged 15 years and over 2017 (Phase 1). Department of Health, Ministry Public Health. Source: Institute of Health System Research (HSRI).(in Thai).
Sukamornrat Pisamai, Aphairit Pinayada. (2019).Evaluation of village development, health behavior change According to the community policy to create happiness: “Happy body, happy heart, happy money”. Retrieved 13 January 2020, from http://vwvw.hed.go.th/linkHed/387. (in Thai).
Techajawijitcharu, Chinta, Srisuphonkornkun,Atchara, Changtet, Sutatta. Selected factors related to health intelligence of village health volunteers. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2018;19: 320-32. (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.