การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การกระจายอำนาจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 887 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความน่าเชื่อถือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า ระดับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3.29 (S.D. = 0.993) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.28 (S.D. = 1.067) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการเสริมสร้างภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2.6 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุราชการ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง และการได้รับการอบรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนข้อมูลหน่วยงานพบว่า ปัจจัยด้านเทศบาลมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านงบประมาณในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่หน่วยงานได้รับ ในปี 2562 และด้านจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคในปีงบประมาณ 2562 มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (0.002, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ)
เอกสารอ้างอิง
Chaiyon, Piromporn. (2014). Decentralization to local administrative agencies : a case study
of self-government based upon the will of the people in the provincial leve. (Master of Laws, National Institute of Development Administration). (in Thai).
Food and Drug Administration. (2016). Food and Drug Administration Action Plan 2016.
Retrieved August 20, 2019, from https://www.fda.moph.go.th/Shared%20Documents/ fdastrategy/StrategyPlan59.pdf(in Thai)
Impong, Wannaporn. (2011). Factors Related tothe Performance of Consumer Protection on Health Product of Health Officers in Primary Care Units, Chanthaburi Province. (Master of Public Health, Sukhothai Thammathirat Open University). (in Thai).
Jaimom, Teeraphon. (2004). Determining Plan and Procedures in Decentralizations to the
Local Administrative Organization B.E. 2542. (Thai Local Government Encyclopedia, Section 2 External Structure No. 2, King Prajadhipok’s Institute). (in Thai)
Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample size for Research activities. Retrieved December 2019, from https://home.kku.ac.th/sompong/guest_speaker/KrejcieandMorgan_article.pdf
Siangprasert, Pikul. (2014). A Model of Health Consumer Protection at Local Administrative
Level: the Case of Health Products in Pathumthani. Journal of Health Science 2014. 23(6): 984-991. (in Thai).
Suamuang, Tawatchai. (2016). Factors Affecting Health Product Consumer Protection in Sub-District Health Promoting Hospital, Suphanburi Province. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology).12(1): 24. (in Thai).
Vadhnapichyakul, Anuvadh. (2016). Factors and Barriers of Health Consumer Protection’s
Policy implementation. Department of Pharmacy Practice, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Ubon Ratchathani University.(in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.