About the Journal

Focus and Scope

วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ งานนวัตกรรม งานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน รวมถึงงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ

ขอบเขตการตีพิมพ์ในวารสาร

ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพหรือด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Peer Review Process

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)

ประเภทของผลงานที่รับเผยแพร่ ได้แก่ บทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article)

1. บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึง บทความที่เขียนขึ้นที่ผู้เขียนตั้งใจหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หรือวิพากษ์ทัศนะหรือแนวคิดเดิมและ/หรือนำเสนอหรือเผยแพร่แนวคิดใหม่ เพื่อมุ่งให้ผู้อ่านเปลี่ยนหรือปรับเปลี่ยนแนวคิด ความเชื่อมาสู่ความคิดของผู้เขียน บทความวิชาการเน้นการให้ความรู้เป็นสำคัญ และต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการ เอกสารอ้างอิง และเหตุผลที่พิสูจน์ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน

2. บทความวิจัย (Research Article) หมายถึง บทความที่เขียนขึ้นจากงานศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical Study) หรือที่เรียกว่า งานวิจัย สาระของบทความสะท้อนให้เห็นขั้นตอนการดำเนินการศึกษา ซึ่งได้แก่ การกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาหรือวัตถุประสงค์การวิจัย การดำเนินการศึกษา การแสดงข้อค้นพบหรือผลวิจัย และการบอกความหมาย และความสำคัญของผลที่ได้จากการศึกษาในทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ เป็นการนำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีกรอบแนวคิด ผลการวิจัย สรุปผล ข้อเสนอแนะ และการอ้างอิงข้อมูลอย่างเป็นระบบ

3. บทความปริทัศน์ (Review Article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the Art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

Publication Frequency

กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ

ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 

ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม

ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

editorial (บรรณาธิการ)

นางณัฐยา ประเสริฐศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแผนงาน สำนักงานเลขานุการกรม 

editorial Team (กองบรรณาธิการ)

ศ.นพ.กิตติศักดิ์  สวรรยาวิสุทธิ์            มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศ.ดร.เอมอัชฌา  วัฒนบุรานนท์          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.สุรพันธ์  ยิ้มมั่น                          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รศ.ดร.สุมัทนา  กลางคาร                    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รศ.ดร.พอใจ  พัทธนิตย์ธรรม               มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.พิเศษ นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์    สถาบันประสาทวิทยา

ผศ.ดร.อภิชัย  คุณีพงษ์                       สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา

ผศ.ดร.ขวัญเมือง  แก้วดำเกิง              มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.อรสา  เตติวัฒน์                       มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผศ.ดร.กมลนัทธ์  ม่วงยิ้ม                    สถาบันพระบรมราชชนก

นาวาเอก ดร.บุญเรือง  เกิดอรุณเดช    มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผศ.ดร.พัชรี  สุริยะ                              มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.ดร.วันวิสาข์  ชัชวงษ์                     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ดร.วิภาดา    จันทรมณฑล                  โรงพยาบาลร้อยเอ็ด-ธนบุรี

ดร.ศศิวรรณ   ทัศนเอี่ยม                     มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้จัดการวารสาร

นางสุรัสษา พรหมทอง