Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์
วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้วิทยาการด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการของหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
- บรรณาธิการต้องควบคุมคุณภาพบทความของผู้นิพนธ์บนพื้นฐานของความถูกต้องทางวิชาการ ปราศจากอคติ
- บรรณาธิการต้องไม่แก้ไข ปรับเปลี่ยนเนื้อหาบทความของผู้นิพนธ์และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ
- บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพมาตรฐาน
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ โดยจัดให้มีกระบวนการกลั่นกรองผลงานในลักษณะ double-blind peer review
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผลงานของผู้นิพนธ์ต้องไม่ตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง
- ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของวารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- ผู้นิพนธ์ต้องกรอกแบบฟอร์มการขอส่งบทความให้เรียบร้อย และแนบหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาของผู้นิพนธ์มาด้วย
- หากเป็นผลงานวิจัย ได้ขอจริยธรรมการวิจัยตามหลักการที่ถูกต้อง
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินควรรับพิจารณาเฉพาะบทความที่ตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง
- ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน