การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดในสถานการณ์ COVID-19

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา วิภาคสงเคราะห์ ภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • กรกฎ สุวรรณอัครเดชา ภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์
  • ชัยธวัช วันทะก๋า ภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด, COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดภายใต้สถานการณ์ COVID-19 2) เพื่อศึกษาผลของพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดภายใต้สถานการณ์ COVID-19 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการภายใต้สถานการณ์ COVID-19 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่ เมษายน 2563 ถึง กรกฎาคม 2563 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการดำเนินโครงการ มีการปรับผังหอผู้ป่วยใหม่เพื่อแยกผู้ป่วยให้เป็นเขตสะอาดและเขตรอผลการตรวจวินิจฉัย ด้านบุคลากรแบ่งทีมการดูแลอย่างชัดเจนในแต่ละเขต ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำนวนทั้งหมด 162 รายเป็นเพศหญิง 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.79 เพศชาย 70 รายคิดเป็นร้อยละ 43.21 อายุเฉลี่ย 54.67 (SD 15.44) ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ามารับบริการ มีการปรับย้ายข้ามแผนกตามนโยบายแบ่งเป็นแบบ Zoning ในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.69 หอผู้ป่วยไม่วิกฤติ 28 รายคิดเป็นร้อยละ 17.28 ผลการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อ COVID-19 วันแรกของการเข้ารับการรักษา ผลตรวจไม่พบเชื้อ (Non-detected) จำนวน 162 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อ COVID-19 วันที่ 7 หลังเข้ารับการรักษา พบว่าผลการตรวจ ไม่พบเชื้อ (Non-detected) จำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดในสถานการณ์ Covid-19 จำนวน 148 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.36 เนื่องจากนโยบายราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยให้เลื่อนการผ่าตัด Non-urgent operation ทั้งหมดออกไปอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ จากการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการครั้งนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในการผ่าตัดในสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียโอกาสที่จะได้รับรับการผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

Amon Leelaramee. (2020). Interesting facts about COVID-19 infectious disease caused by SARS-CoV-2 virus. Information for healthcare professionals. Retrieved March 20, 2021, from https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf. (inThai).

Bhardwaj, A., & Mirski, M. A. (2010). Handbook of neurocritical care (2nd ed). New York: Springer-Verlag.

Infectious Disease Doctor and Epidemiologist Faculty of Medicine Mahidol University. (2563). COVID-19 Fundamentals Part 1: COVID-19 Infection, Infection, Illness, Treatment, Prevention, Transmission and Infection [PDF file]. Retrieved March 20, 2021, from http://phoubon.in.th/covid-19 (inThai).

Medical Council, Association of Infectious Diseases of Thailand, Urology Association of Thailand, Royal College of Surgeons of Thailand, Royal College of Anesthesiologists of Thailand, Royal College of Obstetricians of Thailand. (2020). In the situation of the coronavirus disease outbreak 2019 (COVID-19) Information for healthcare professionals. Retrieved March 20, 2021, from https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid19-OR-070563.pdf. (inThai).

SudaSawan Jiumsakul and Kanjada Komsilpa. (2017). A Study of Quality Indicators of Nursing Results for Neurosurgery Patients. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18:147-154. (in Thai)

Wichitra Kusom. (2010). Nursing Critical Care: Holistic (4th ed.). Bangkok: United States of America. (in Thai).

World Health Organization. (2020). Emergencies preparedness, response. Pneumonia of unknown cause–China. Retrieved January 5, 2020, from https://www.who.int/csr/don/05-january-2020-pneumonia-of-unkown-cause-china/en/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง