การศึกษารูปแบบการจัดสรรงบประมาณรักษาพยาบาลรายหัวของคนไทยจากกองทุนรัฐสวัสดิการให้กับสถานบริการสุขภาพในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ คชกุลไพโรจน กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

งบประมาณรายหัว, กองทุนรัฐสวัสดิการ, หลักประกันสุขภาพ

บทคัดย่อ

การสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย ได้มีการพัฒนามาแล้วกว่า 50 ปี โดยในปี พ.ศ. 2515 ได้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน และหลังจากนั้นมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2521 มีพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ยังมีหลักประกันสุขภาพเสริมอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การประกันสุขภาพภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ ในระยะที่ผ่านผู้วิจัยเห็นว่ายังมีพบปัญหาการจัดสรรงบประมาณจากแต่ละแหล่งงบประมาณของกองทุนสวัสดิการของรัฐซึ่งมีรูปแบบและวิธีการจัดสรรที่แตกต่างกัน อาจเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลให้หน่วยบริการได้รับงบประมาณที่แตกต่างกัน 

การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดบริการสาธารณสุข ของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดสรรให้แก่หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราค่าใช้จ่ายต่อประชากรของงบประมาณที่หน่วยบริการได้รับจากหน่วยงานหรือกองทุนที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณ เพื่อการจัดบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดสรรงบประมาณ ในปัจจุบันของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นรายได้หลักของหน่วยบริการ โดยใช้หลักความเป็นธรรมเป็นเกณฑ์ในการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดสรรงบประมาณ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ในการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนอื่นๆ ที่จัดสรรให้แก่หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไป วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลระดับทุติยภูมิ จากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพและข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาเชิงพรรณนา เกี่ยวกับแนวคิดรูปแบบและกระบวนการจัดสรรงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐมิติเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระจากวิธี Ordinary Least Squares (OLS)  

ผลการศึกษาพบว่าการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละกองทุน โดยอัตราที่จัดสรรต่อประชากรเฉลี่ยทั้งประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพฯ) พบว่าสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ มีอัตราสูงที่สุด เฉลี่ย 5,502.92 บาท/คน/ปี รองลงมา คือ กองทุนประกันสังคม เฉลี่ย 2,579.56 บาท/คน/ปี และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เฉลี่ย 2,205.02 บาท/คน/ปี ส่วนผลการศึกษาด้านความเป็นธรรมตามสมการเศรษฐมิติ ซึ่งศึกษาเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพเนื่องจากมีข้อมูลค่อนข้างครบถ้วนพบว่า มีความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณที่จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัว (เงิน OP IP และ PP) ตามหลักความเป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจัดทำสมการขึ้นมา โดยพบว่ามี 4 จังหวัดที่จัดสรรได้อย่างเหมาะสม มี 37 จังหวัดที่ได้รับจัดสรรงบประมาณน้อยกว่าที่ควรได้รับ และมี35 จังหวัดได้รับจัดสรรงบประมาณมากกว่าที่ควรได้รับ โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีบริหารของหน่วยบริการในปัจจุบันซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันเนื่องจากปัญหาความไม่เข้าใจในหมวดรายการซึ่งมีรายละเอียดจำนวนมากและมีการเปลี่ยนบุคลากรบ่อยจึงควรมีการพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลและทวนสอบความถูกต้องจากผู้บริหารระดับหน่วยบริการอย่างจริงจัง และจากการศึกษาวิเคราะห์ตามแบบจำลองทางเศรษฐมิติ พบว่าการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีหลายจังหวัดได้รับงบประมาณมากกว่าที่พึงได้รับและหลายจังหวัดได้รับงบประมาณน้อยกว่าที่พึงได้รับ ดังนั้น ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาทบทวนวิธีการจัดสรรให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมให้มากขึ้น สุดท้ายควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของหน่วยบริการสาธารณสุขเพื่อการวางแผนบริหารจัดการหน่วยบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Ammar Siamwalla. (2001). Universal Health Coverage: Policy Goals. TDRI Report No. 30. Bangkok: Thailand Development Research Institute. (in Thai).

Arthur S. Goldberger. EcinimetricsTheory. New York : John Wiiley & Sons Inc., 1971.

Chueathai, Somyot. (2006). Theory of Law: Philosophy of Law. (2nd Edition). Bangkok: Winyuchon Publishing. (in Thai).

Civil Servant Medical Welfare Manual. (2017). Office of the Treasury Area 8 and the Provincial Treasury Office in Area 8: Suratthani.(in Thai).

Culyer, A. J. (1991). Health expenditures and equity (discussion paper 83, pp.30-67) York, University of York, Centre for Health Economics.

Faamnuayphon, Penit and Suppasit Phannarunothai. (2002). Development of a tool kit to measure health fairness by relying on the community mechanism. Nonthaburi. (in Thai).

Handbook for the people. (2022). The Facilitation of Government Authorization Act, B.E. 2558 (2015). Nonthaburi: Social Security Office Ministry of Labor. (in Thai).

Kitiphat Nonthapatamadul. (1994). Good health for all. Bangkok : Srichai Printing. (in Thai).

Mooney, G (1987). What does equity in health mean?. Copenhagen,University of Copenhagen, Institute of Social Medicine.

National Health Security Office. (2021). Manual of National Health Security Fund Administration. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing Company Limited. (in Thai).

Office of Policy and Strategy. (2011). Thai Public Health 2008-2010. Bangkok: Shipping and Parcel Organization Printing House. (in Thai).

Phannarunothai, (2000). Health economics in the era of health system reform. Phitsanulok:

Naresuan University,Health Justice Research and Monitoring Center. (in Thai).

Phannarunothai,Suphasit. (2005). Health fairness: lessons from universal health coverage in Thailand. Documents for academic seminars, Bangkok: The year of publication does not appear. (in Thai).

Teepakorn Jithitikulchai (2021) Developing Sustainable Fiscal Efficiency for the Health Security System and Human Resource Allocation Model for Health : Health Systems Research Institute (HSRI). (in Thai).

Wirot Na Ranong and Anchana Na Ranong. (2002). Monitoring and evaluating the implementation of the project “30 baht treatment All diseases” of the Ministry of Public Health. Thailand Development Research Institute (TDRI). (in Thai).

World Health Organization, THE WORLD BANG (2021). Tracking Universal Health Coverage 2021 Global Monitoring Report, World Health Organization 20, Avenue Appia CH-1211 Geneva 27 Switzerland.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-24

วิธีการอ้างอิง