ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อกับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักเรียนในสังกัดโรงเรียนของเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3

ผู้แต่ง

  • นเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และระดับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน 3.เพื่อค้นหาปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ทำนายพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนในสังกัดโรงเรียนของเทศบาลเมืองของเขตสุขภาพที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการศึกษาแบบเชิงสัมพันธ์ (Correlation Study) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ได้แก่ เพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความรุนแรงของอุบัติเหตุ การรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคในการใช้หมวกนิรภัย ในนักเรียนในสังกัดโรงเรียนของเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 ม.5 ม.6 ) ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 450 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล ใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ การใช้การแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ความถี่คะแนนเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient values) และวิเคราะห์ความทดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ระยะเวลาที่ดำเนินการในระหว่าง เดือนมกราคม - เดือนกันยายน 2566 โดยผ่านอนุมัติการทำวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของเขตสุขภาพที่ 3 เลขที่ RH-EC303/66 วันที่ 12 พฤษภาคม 2566

               ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนในสังกัดโรงเรียนของเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ เฉลี่ยเพียง 2.33 อยู่ในระดับ ปานกลาง กลุ่มตัวอย่างทั้งเพศหญิง และเพศชายมีจำนวนนักเรียนที่ไม่ใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มากกว่านักเรียนที่ใช้หมวกนิรภัยในเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 65.0 ส่วนในเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.0 นักเรียนมีการใช้หมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เพียง ร้อยละ 10.0 และใช้หมวกนิรภัยเป็นบางครั้ง ร้อยละ 90.0 0 ใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับศีรษะทุกครั้ง ร้อยละ 75.0 ใช้หมวกนิรภัยโดยใช้สายรัดคางพาดผ่านปลายคางให้กระชับพอดีทุกครั้ง ร้อยละ 65.0 ใช้หมวกนิรภัยทุกครั้งแม้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในระยะใกล้เพียงร้อยละ 15.0 ส่วนใหญ่จะใช้หมวกนิรภัยขับขี่รถจักรยานยนต์ในระยะไกลร้อยละ 60.0 ใช้หมวกนิรภัยเป็นทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์เวลากลางวัน ร้อยละ 75.2 และใช้หมวกนิรภัยเป็นบางครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ เวลากลางคืน ร้อยละ 34.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีการทดสอบความกระชับของหมวกก่อนขับขี่ทุกครั้ง เพียงร้อยละ 40.0 นักเรียนจะขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงเป็นบางครั้งที่ใช้หมวกนิรภัย ร้อยละ 85.2 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 16.1 ใช้หมวกนิรภัยที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี กลุ่มตัวอย่าง มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับดี (????̅= 3.19,SD = 0.44) การรับรู้ความรุนแรงอยู่ในระดับดีมาก (????̅= 3.68,SD = 0.28) การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับดี (????̅= 3.09,SD = 0.50) และการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับไม่ดี (????̅= 2.50,SD = 0.82) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการใช้หมวกนิรภัยได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง, การรับรู้อุปสรรค, ประสบการณ์การได้รับอุบัติเหตุ และช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถพยากรณ์การใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .846 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของประสิทธิภาพการพยากรณ์เท่ากับ .131 โดยตัวแปรพยากรณ์ การรับรู้อุปสรรค ประการณ์ในการได้รับอุบัติเหตุ อายุต่ำกว่า 18 ปี และการรับรู้ความรุนแรง มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 1.162, -.575, -.108 และ .098 ตามลำดับ

               ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ 1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติภัยจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้อย่างถูกต้อง ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติภัยจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยเน้นนักเรียนใช้หมวกนิรภัยทุกครั้งขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องมีความเข้าใจว่า การเกิดอุบัติภัยจากการขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นผลลัพธ์เกิดจากการกระทำของตนเอง และจะต้องควบคุมตนเองที่จะไม่ให้เกิดอุบัติภัยจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ การรณรงค์การใช้หมวกนิรภัยควรมุ่งเน้นถึงการรับรู้ความรุนแรงของการใช้หมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ อันจะเป็นประโยชน์ในการป้องกัน และลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ : ปัจจัยคัดสรร ,พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัย ,การป้องกันอุบัติเหตุ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง