ผลการพัฒนาแบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จารินี คูณทวีพันธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  • ระวีวัฒน์ นุมานิต โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • อนุรักษ์ กระรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์, ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงทำให้มารดาและทารกในครรภ์มีอันตรายหรือมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้นทั้งระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด อุบัติการณ์การเสียชีวิตของทารกปริกำเนิดจังหวัดบุรีรัมย์ในปี 2555-2558 สาเหตุการตายพบว่าปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของมารดาเป็นต้นเหตุ เกิดจากไม่ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงหรือตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้าทำให้ไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรก วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และศึกษาผลการใช้แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นในเรื่องความพึงพอใจด้านความถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน และง่ายต่อการนำไปใช้ ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ 1) เตรียมการและวิเคราะห์สถานการณ์ สร้างแบบคัดกรองและคู่มือ 2) อบรมให้ความรู้ นำแบบคัดกรองและคู่มือไปทดลองใช้ 3) ประเมินผล 4) นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงแก้ไข กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของโรงพยาบาล ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ 1,054 ราย ผู้ประเมินระดับจังหวัด 21 คน และผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายจากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ 307 คน ศึกษาช่วงตุลาคม 2559 ถึง กันยายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) เครื่องมือในการดำเนินการ ได้แก่ แบบคัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์และคู่มือการคัดกรองและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง (2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยแบบคัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ และคู่มือการคัดกรองและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และ 0.89 ตามลำดับ แบบสอบถามความพึงพอใจทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟ่าของครอนบาซได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Paired t- test และ Chi square test

ผลการศึกษาพบว่า แบบคัดกรองมี 4 องค์ประกอบ คือ ประวัติในอดีตและประวัติครอบครัว ประวัติครรภ์นี้ การตรวจร่างกายในครรภ์นี้ การตรวจในห้องปฏิบัติการ มีคำถาม 43 ข้อ โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 3 ระดับและส่งต่อตามศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาล เมื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องในการคัดกรองความเสี่ยงและการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยรักษาของผู้ประเมินระดับจังหวัดกับผู้ปฏิบัติงานพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผู้ประเมินระดับจังหวัดและผู้ปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูงในทุกด้าน สรุปได้ว่าการศึกษาครั้งนี้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในทั้งด้านความพึงพอใจ และพบความสอดคล้องของผลการคัดกรองและส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยกับผู้ประเมินระดับจังหวัด จึงควรนำแบบคัดกรองนี้ไปใช้ในทุกสถานบริการเครือข่ายให้สามารถค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงและส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมตามศักยภาพสถานบริการ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้

เอกสารอ้างอิง

Amsuwan, Ladda. Isaranurak, Sirikun. Chanwitan, Prasin. Techasena, Waraporn. Suthan Sumitra. and Suphapinyo, Chanyayuth. (2003). Death and perinatal mortality True from the surveillance of pregnant women and newborns, a long-term research project in Thai children. Health Systems Research Institute Thailand Research Fund Ministry of Public Health.

Best, John. (1970). Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy : Printice-Hall.

Bloom, Benjamin S. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive. New York: David Mackey Company, Inc.

Health Information Group. (2016). Health Statistics Year 2016. Nonthaburi: Strategic and Planning Division.

Kaewsribut, Nonglak. Chamnan, Nataya. Mekam, Nipaporn. Phatmeesuk, Natcha. and Phaeng, Jitlada. (2018). Development of screening methods for the transmission of pulmonary tuberculosis. Health personnel Outpatient service and emergency accident patient service Mancha Khiri Hospital. 6 September 2018 from file: /// C: / Users / vipsu6 / Downloads / R2R. TB% 20 screening (Essence)% 20 (2)% 20 (1).pdf

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.

Phueng Ubon, Benja. (2007). Infant mortality situation in health promotion hospitals Health Center 4, Ratchaburi, Budget Year 2002-2007. 28 September 2018, from . pdf

Udomkitti, Suwit. (2011) High risk factors of pregnant women with perinatal mortality. Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. The Association of Preventive Medicine, 1(1), 98-108.

Uthaisrattanakit, Daranee. Srisukvatananan, Pawinee. Ngamsamut, Nattawat. Saengsawang, Thapana. and Wangwisesgusol, Chanikarn. (2013). The Identification, Screening, and Diagnosis for Parson with Attention Deficit Hyperactivity Disorder, and Learning Disorders, and Pervassive Developmental Disorders/Autism. Kasetsart University.

Von Bertalanffy, L. (1956). General System Theory: General Systems. Yearbook of the Society for the Advancement of General System Theory. 1: 1-10

Worakot, Supisara. Thungimma, Phongsri. Srina, Nantana. and Theerasopon, Pranee. (2011). Screening of primary anemia in reproductive women by Chan Phen Sub-district Public Health Volunteer, Tao Ngoi District, Sakonnakhon Province. Journal of Nursing and Education, 4 (2), 2-9.

Yamane, Taro. (1975). Statistic : An Introductory analysis. (3rd ed.). Tokyo : Harper International edition.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-22

วิธีการอ้างอิง