ระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักในเขตสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • อุดม ภู่วโรดม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • ชลภิวัฒน์ ตรีพงษ์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคลมชัก , ภาวะดื้อต่อยากันชัก, ยากันชัก

บทคัดย่อ

โรคลมชักเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นภาระของโลก ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุพพลภาพซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิต ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ โรคลมชักบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่ามีผู้ป่วยโรคลมชักมากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก และกว่า 5 แสนคนในประเทศไทย ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่เป็นรายละเอียดในภาพรวมของประเทศ ที่สามารถแสดงความสามารถในการเข้าถึงการรักษา แต่มีข้อมูลจากการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถเข้าถึงการบริการรักษาที่เหมาะสมมีเพียงร้อยละ 44 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระบบการให้บริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักในเขตสุขภาพที่ 11 ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และกระบี่ พบว่ายังมีข้อจำกัดของทรัพยากร ในด้านต่างๆ ในการให้บริการผู้ป่วยโรคลมชักที่ดีตามมาตรฐานการรักษา ทั้งด้านแพทย์เฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาประสาทวิทยา หรือแพทย์เฉพาะทางสาขาประสาทวิทยาโรคลมชัก ด้านทรัพยากรอื่นๆ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการตรวจวินิจฉัย ตลอดจนชนิดและความหลากหลายของยากันชักซึ่งยังมีข้อจำกัดสำหรับการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมในบางกรณี การจัดทำระบบเครือข่ายการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการมีองค์ความรู้เรื่องข้อบ่งชี้ในการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับการตรวจประเมินในเวลาอันเหมาะสม จะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงการให้บริการรักษาโรคลมชักที่เหมาะสมได้

เอกสารอ้างอิง

Krumholz A, Wiebe S, Gronseth G, et al. (2007). Practice parameter: evaluating an apparent unprovoked first seizure in adults (an evidencebased review): report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology and the American Epilepsy Society. Neurology, 69, 1996–2007.

Kwan, P, Arzimanoglou, A, Berg, AT, Brodie, MJ, Hauser, WA, Mathern, G, Moshe, SL, Perucca, E, Wiebe, S, French, J. (2010). Definition of drug resistant epilepsy: Consensus proposal by the ad hoc Task Force of the ILAE Commission on Therapeutic Strategies. Epilepsia, 51(6), 1069–1077.

Kwan, P, Schachter, S, Brodie, MJ. (2011). Drug-Resistant Epilepsy. The New England Journal of Medicine, 365, 919-26.

Mbuba CK, Ngugi AK, Newton CR, Carter JA. (2008). The epilepsy treatment gap in developing countries: A systematic review of the magnitude, causes, and intervention strategies. Epilepsia, 49(9), 1491–1503.

Office of The National Economic and Social Development Board. Population per health personnel. Retrieved November 4, 2018, from http://social.nesdb.go.th/social/Default.aspx?tabid=131

Rajpura, A, Sethi S. (2004). Evidence-based standards of care for adults with epilepsy - a literature review. Seizure, 13, 45–54.

Unwong, Kanchana. (2016). Clinical Practice Guidelines for Epilepsy. Bangkok: Tanapress.

World Health Organization. (2010). Global disparities in the epilepsy treatment gap : a systematic review. Bulletin of the World Health Organization, 88, 260-266.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-22

วิธีการอ้างอิง