การส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ (Experiential Activities Planner : EAP) เพื่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

ผู้แต่ง

  • อนงค์ ภูมชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, การส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, แผนการจัดประสบการณ์

บทคัดย่อ

การส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ (Experiential Activities Planner : EAP) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแผน EAP เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกต้อง การแปรงฟันป้องกันฟันผุและการเลือกรับประทานอาหารเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็ก (ศพด.) ในและนอกเขตเทศบาลใน 3 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1. หน่วยมือน้อยมหัศจรรย์ 2. หน่วยฟันแสนสวย และ 3. หน่วยหนูน้อยน่ารัก และประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานและการเรียนรู้ที่แสดงออกของเด็ก 5 ด้าน คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย/การตอบคำถาม/การปฏิบัติงานศิลปะ/การปฏิบัติตามคำสั่ง/การปฏิบัติร่วมกับผู้อื่น และมีเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของคุณภาพผลงานเป็น 3 ระดับ คือ ดี (คะแนนระหว่าง 2.5-3.0) ปานกลาง (คะแนนระหว่าง 1.5-2.4) และควรปรับปรุง (คะแนนระหว่าง 0.1-1.4) และประเมินพฤติกรรมการล้างมือ/การแปรงฟัน/การเลือกรับประทานอาหารของเด็กก่อนวัยเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ที่โรงเรียนโดยการทดสอบทางสถิติหาความแตกต่างของพฤติกรรมสุขภาพด้วย Wilcoxon Signed Ranks Test และที่บ้านด้วย Paired t-test ผลการประเมินแผน EAP จากผลงานมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพของ 3 หน่วยการเรียนรู้เท่ากับ 2.37, 2.58, 2.53 ตามลำดับซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและดี ส่วนการประเมินการเรียนรู้ที่แสดงออกของเด็ก 5 ด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของอยู่ระหว่าง 2.38-2.61, 2.35-2.76 และ 2.31-2.69 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการเรียนรู้ในระดับดีและปานกลาง สำหรับพฤติกรรมการล้างมือและการเลือกรับประทานอาหารที่โรงเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแผน EAP มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนพฤติกรรมการล้างมือ การแปรงฟันสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารที่บ้านก่อนและหลังการการเรียนรู้พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหลักสูตรการเรียนรู้ตามแผน EAP นี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของเด็กก่อนวัยเรียนที่สามารถเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้และเด็กมีพฤติกรรมหรือปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมที่กำหนดให้ในหลักสูตรและทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีที่โรงเรียนและที่บ้านได้ อันจะส่งผลต่อการลดปัญหาสุขภาพได้ในระยะยาวต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Bereau of General Communicable Disease Department of Disease Control Ministry of Public Health.(2558) Guidelines for the prevention and control of communicable diseases in child care centers and Kindergarten (for teachers, child care) Edition 1: The Bourne B Publishing Limited. (in Thai).

Mohsuwan, Ladda et al. (2554) Report of Public Health Thailand by physical examination 4th Year 2551-52: children’s health. In Vichai Ekapakorn: Report of Public Health Thailand by physical examination of the 4th year 2551-52. Nonthaburi: Health Systems Research Institute. (in Thai).

Internatioal Health Regulation.(2555,13 June) Hand Foot Mouth situation in Krabi. ASTV Online Manager from <http://203.157.15.32/ihr/th/ Hand Foot Mouth situation -5/. (in Thai).

Krabi Provincial Office. (2550, 15 November) Child obesity Krabi 1 in 10 of country. From http://103.28.101.10/anda/krabi/rela/Question.asp?ID=3476&CAT=hea&ggsql=.(in Thai).

Department of Health. (2560,12 June) National Oral Health Survey No.8 hopefully reduce tooth decay and oral health problem in Thailand. from https://www.anamai. moph.go.th/more_news.php?cid=76&filename =index .(in Thai).

Thai Rath Edition. (2561, 4 June) “Meet the malnutrition of children Thailand. Very high during the toddler. “from https://www. thairath.co.th/content/1298356. ( in Thai).

World Health Organization. (2016, 8 August). Growth and Development. from http://www.who.int/nutrition/topics/growth_and_development/en/.

Office of Social Quality of Learning and Youth. (2557) Early Child Development Taproot of life. Documentation Conference “Apiwat Learning to change Thailand”. (6-8 May 2557). (in Thai).

Ministry of Education. (2546). Early Childhood Education Program BE 2546 (For children aged 3-5 years). Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai).

Academic and educational standards Ministry of Education. (2551) Early Childhood Education Program BE 2546. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai).

Sạmmnakul, Bunlert. (2553) The ability to develop problem-solving skills using game thinking. (Thesis of Master of Education Program). Maha Sarakham Rajabhat University, Maha Sarakham. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง