หลักเกณฑ์การปรับระดับศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพ ในมุมมองผู้ปฏิบัติงาน
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลชุมชม, โรงพยาบาลทั่วไป, โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หน่วยบริการสุขภาพ ชมรมโรงพยาบาลศูนย์ ชมรมโรงพยาบาลทั่วไป และชมรมโรงพยาบาลชุมชน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม 2559 – 30 ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการประชุมระดมสมอง (Focus group) ผลการศึกษาพบว่า
การปรับระดับศักยภาพโรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A) ควรใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) เป็นนโยบายหรือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการในเขตสุขภาพ 2) เน้นเรื่องการพัฒนาวิชาการศูนย์ความเชี่ยวชาญ 3) ต้องมีศักยภาพเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับ 1 อย่างน้อย 2 ด้าน 4) เสนอให้มีการประเมินความคุ้มค่าก่อนปรับระดับ
การปรับระดับศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ โรงพยาบาลทั่วไป (ระดับM 1 หรือ ระดับ S) การปรับระดับโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (ระดับ M2) เป็นโรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ M1 หรือ ระดับ S) ควรใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) จำนวนผู้ป่วยนอก 2) จำนวนผู้ป่วยใน 3) สถานะการเงินของโรงพยาบาล 4) เกณฑ์วัดศักยภาพผู้ป่วยใน (CMI)
การปรับระดับศักยภาพโรงพยาบาลชุมชน (ระดับ F1) เป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (ระดับ M2) ควรใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) หลักเกณฑ์ประชากร 2) ประชากรรับส่งต่อ 3) จำนวนผู้ป่วยนอก 4) ผู้ป่วยใน 5) ผ่าตัดคลอด ควรระบุให้ชัดเจน 6) ควรประเมินความเสี่ยงการเงิน (Risk score) ไม่เกินระดับ 3 และ 7) มีเกณฑ์ประเมินศักยภาพของโรงพยาบาล เช่น CMI, SumAdj RW, เตียงActive bed
การปรับระดับศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (ระดับ F3) เป็นโรงพยาบาลชุมชน (ระดับ F2) ควรใช้หลักความต้องการพื้นฐาน ขึ้นกับความแตกต่างของบริบทพื้นที่ เช่น สถานที่ตั้ง/ขนาดที่ดิน ระยะห่าง รวมทั้งมีเกณฑ์ประเมินศักยภาพของโรงพยาบาล เช่น CMI, SumAdj RW, เตียง Active bed การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ หน่วยบริการสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง สามารถนำผลการวิจัย “หลักเกณฑ์การปรับระดับศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพในมุมมองผู้ปฏิบัติงาน” ไปใช้ประเมินความพร้อม วิเคราะห์ส่วนขาดการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ
เอกสารอ้างอิง
Health Administration. (2017). Division. Operations and Service Plan 2560-2564. The Publisher of Thailand Agricultural Cooperative.
Hong-aumpai, P. (1992) The factor analysis of Health-Care Service’s budget allocation: A Case Study of the Office of the Permanence Secretary Ministry of Public Health. Master of Economic Thesis, Chulalongkorn University.
Na Ranong, V. and Committee. (2002). Follow up and Project Assessment “30 Baht Health care scheme. Ministry of Public Health. Thailand Development Research Institute (TDRI).
Pattamasiriwatt, D. and Committee. (2007). Potential Budget Management for Health Service, Case study of Secondary and Tertiary care 95 units under Office of the Permanent Secretary. Journal of Economic Publish, Thammasart University. 25(4).
Saensantier, K. and Jangkloi, U. (2016). Cost and budget analysis of health-care right for Community Hospital in Nakhonratchasima. Province the Management Journal, 11(1).
Sararatch A., Hanucharoenkul S., and Vittayasuppakorn J. (1999). The study on Potential of Hospital Center and Specialized Hospital in order to be a training center for several Medical Branch. Thai Journal of Nursing, 14(1).
Strategy and Planning Division. (2016). Thailand Public Health 2011-2015. Bangkok: The Publisher of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Department of Health Service Support-วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.