ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตาย ในจังหวัดอุบลราชธาน

ผู้แต่ง

  • สิริพร วงศ์ตรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพของข้อมูล, สาเหตุการตาย, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลสาเหตุการตายย้อนหลัง 2) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติการสันนิษฐานสาเหตุการตาย 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กับคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีประชากรคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตาย ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตาย ในจังหวัดอุบลราชธานี 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลสาเหตุการตายย้อนหลัง สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.40 อายุระหว่าง 31-40 ปี มากที่สุด ร้อยละ 34.30 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 77.10 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 45.70 ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการประชุม/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการปฏิบัติการสันนิษฐานสาเหตุการตาย ร้อยละ 55.70 และเคยปฏิบัติการสันนิษฐานสาเหตุการตาย ร้อยละ 100 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 61.40 มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.40 มีความพึงพอใจในการปฏิบัติการสันนิษฐานสาเหตุการตาย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.30 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กับคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตาย พบว่า ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน (r = -0.090, p-value <0.05) ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน (r = -0.222, p-value <0.05) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) เนื่องจากความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานที่ผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ หลักเกณฑ์ส่วนความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการเตรียมตัวของผู้ปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตาย หากผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อม มีทักษะและความชำนาญในการทำงาน จะทำให้การปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตายบรรลุผลสำเร็จส่งผลให้ข้อมูลสาเหตุการตายมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (r = -0.007, p-value = 0.951) ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของข้อมูลในการปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตายในจังหวัดอุบลราชธานี ควรให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจ และสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตาย ควรมีกระบวนการในการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตาย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรปฏิบัติงานสันนิษฐานสาเหตุการตาย มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานการสันนิษฐานสาเหตุการตายทั้งในด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพ เช่น การฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประสานงานร่วมกันของงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมในการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน และสามารถลงรายการสาเหตุการตายได้อย่างถูกต้อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพของข้อมูลสาเหตุการตายให้ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. คู่มือสาเหตุการตายและการรับรองสาเหตุการตาย. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2554.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการให้สาเหตุการตาย (ปรับปรุงปี พ.ศ. 2559). นนทบุรี, 2559.

Colin D. Mathers, Doris Ma Fat, Mie Inoue, Chalapati Rao, Alan D. Lopez. Counting the dead and what they died from: an assessment of the global status of cause of death data. Bulletin of the World Health Organization. [Online] 2005. [cited 12 Aug 2015] Available from: http://www.who.int/bulletin/volumes/83/3/171.pdf

ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย. การประเมิน การลงทะเบียนทะเบียนราษฎร์ และระบบสถิติชีพ. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย. เข้าถึงได้ที่ http://www.this.or.th/files/10.pdf. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559

กระทรวงสาธารณสุข. การให้สาเหตุการตายกรณีการตายนอกสถานพยาบาลและเป็นการตายตามธรรมชาติ. หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0205.03.1/ว209. นนทบุรี, 2559

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด, 2558.

Taro Yamane, Statistic: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill, Inc., 1973.

บุณฑริกา ทองสุข. คุณภาพของระบบรายงานสาเหตุการตายของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าปี พ.ศ. 2550. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

มงคล พิมพ์ทรัพย์. ความถูกต้องของการรายงานสาเหตุการตายจากมรณบัตรตามเกณฑ์บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ จังหวัดอำนาจเจริญ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง