ประสิทธิผลของการควบคุมภายในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • จารุณี ยมสวัสดิ์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

คำสำคัญ:

การควบคุมภายใน, การประเมินประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ดำเนินการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การควบคุมภายใน กระบวนการจัดระบบควบคุมภายในและประสิทธิผลของการควบคุมภายใน ของโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการควบคุมภายใน และสถานการณ์การควบคุมภายใน จาก ผู้บริหารของโรงพยาบาลตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไป จำนวน 68 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาล จำนวน 188 คน และใช้แบบบันทึกข้อมูลเก็บข้อมูล จากเอกสารที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน ในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2559 แบบสอบถามผ่านการประเมินคุณภาพมีความตรงเนื้อหาและมีความเที่ยงเท่ากับ 0.86 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเปรียบเทียบ ใช้ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P-value = 0.05

ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การควบคุมภายในของโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ในระดับองค์กร โรงพยาบาลมีระบบควบคุมภายในครบถ้วน ตามมาตรฐานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนในระดับหน่วยงานภายในของโรงพยาบาล นั้น การดำเนินการยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงาน และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.10) มีกิจกรรมควบคุมภายในตามมาตรฐานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ยังไม่ครบถ้วนทุกองค์ประกอบ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการควบคุมภายใน มากกว่า 1 ครั้ง (ร้อยละ 48.50 และ 70.20 ตามลำดับ) มีความรู้เรื่องการควบคุมภายใน ระดับดี (x = 9.41, SD = 1.318 และ 9.34, SD = 1.008 ตามลำดับ) และให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายใน ในระดับดีมาก (x = 3.96, SD = 0.392 และ 3.83, SD = 0.253 ตามลำดับ) กระบวนการจัดระบบควบคุมภายในของโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ในระดับองค์กรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดระบบควบคุมภายใน และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในขึ้น มอบหมาย ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบภารกิจควบคุมภายใน และมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยวิธีการจัดอบรมและส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการอบรมมีการประเมินและรายงานผลการควบคุมภายใน ทุกปี และผลการตรวจสอบภายในพบว่าไม่มีข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ ผลการวิจัย ยอมรับสมมุติฐาน สถานการณ์การควบคุมภายใน ในส่วนของระดับองค์ความรู้และทัศนคติต่อการควบคุมภายใน และปฏิเสธสมมุติฐาน กระบวนการจัดระบบควบคุมภายใน มีความสอดคล้องตามมาตรฐานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีผลต่อระดับความรู้และระดับทัศนคติต่อการควบคุมภายใน

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีการติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบควบคุมภายในของหน่วยงานภายในอย่างต่อเนื่อง มีการสื่อสารผลการประเมินการควบคุมภายในประจำปี ให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกระดับทราบ และ การสร้างแรงจูงใจแก่หน่วยงานภายใน ในการพัฒนาระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และเกิดนวัตกรรมทางการบริหาร โดยการประกวดหรือยกย่องหน่วยงานที่มีระบบควบคุมภายในที่ได้มาตรฐานและเกิดประสิทธิภาพ และกำหนดให้การควบคุมภายในเป็นตัวชี้วัดหลักของหน่วยงานและระดับบุคคลในการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานหรือรายบุคคล

เอกสารอ้างอิง

ชีวรัตน์ สระแพ. การควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO ส่งผลต่อรายงานการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของเทศบาลในจังหวัดสงขลา2557. ICMSIT2014:international conference on management science, Innovation, and Technology 2014 Faculty of management Science,Suan Sunandha Rajabhat University; 2014; 233 - 237

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร:จามจุรี; 2549.

ยุพิน ประกอบกิจ. ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่มีต่อระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9002 ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท ศานติบรรจุภัณฑ์ จำกัด. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก; 2545.

รัชชัย ถนอมพันธุ์. ทัศนะของพนักงานต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะโทรศัพท์จังหวัดจันทบุรี ฝ่ายโทรศัพท์ ภาคตะวันออก เขตโทรศัพท์ภาคตะวันออกที่ 3. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2546.

ผุสดี รุมาคม.การประเมินการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ; บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2551.

วิยดา ปานาลาด.การบริหารการควบคุมภายในของกระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2548

สุมลมาลย์ เตียวโป้. ความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณี ศึกษา ตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2545.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ; 2542.

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.แนวทางการจัดวางระบบควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน.กรุงเทพฯ; ซิสเต็ม โฟร์กราฟฟิคส์ จำกัด; 2554.

Edwards III, George C., and Ira Sharkansky. The Policy Predicament. San Francisco: W. H.Freeman; 1978. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง