ปัจจัยการรับรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ถนัด อาวารุลหัก โรงพยาบาลกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยการรับรู้จากผู้ดูแล, แรงสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยด้านการรับรู้ และแรงสนับสนุนทางสังคมที่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้รับ และศึกษาปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยด้านการรับรู้ ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 150 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมี 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยด้านชีวสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่วนที่ 2 ปัจจัยด้านการรับรู้ ประกอบด้วย การรับรู้ถึงความรุนแรงของการเกิดโรค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาด้วยยา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 การรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบหรือป่วยซ้ำ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 และการรับรู้ถึงอุปสรรคของการรักษาด้วยยา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 ส่วนที่ 3 ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 แรงสนับสนุนทางสังคม ด้านข้อมูล ข่าวสาร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83 แรงสนับสนุนทางสังคมด้านสิ่งของ เงิน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .79 และแรงสนับสนุนด้านการเข้าถึงบริการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 และส่วนที่ 4 พฤติกรรมการรักษาด้วยยา ของผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 โดยรวมทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์ ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์พหุคูณ (R) ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีปัจจัยด้านการรับรู้ โดยรวยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อาชีพนักเรียนนักศึกษา การรับรู้ถึงประโยชน์ของการรักษาด้วยยา การรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการเข้าถึงบริการ

เอกสารอ้างอิง

Areepak. S. (2524). Mental abnormality, Bangkok: Chulalongkorn University press. (in Thai).

Baker C. (1996). The Development of Self-care Ability to Detect Early Sign of Relapse among individuals who have Schizophrenia”, Archives of psychiatric Nursing. 9:261-268

Boonkhan. B. (2553.) The factor for acceptance and social support of schizophrenia caregiver which related to medicine treatment behavior of schizophrenia patient at Amnajchareon Province, A Master Thesis on Public Health Science, Ubolrachathani. (in Thai).

Kiewkingkae. S. (2544.) The Nursing of schizophrenia patients for teaching document course to encourage Mental Health and Psychiatric nurse, Unit 15 pp. 219-222, Nonthaburi, Sukhothai Thammatirat. (in Thai).

Leuboonthawacchai. O. (2549). Mental Health and Psychiatric Nurses, 2nd edition Bangkok: Dansutha Press Ltd, (in Thai).

Nursing for the Red Cross Council , College. (2547). Basic Approach and Theory related to Mental Health and Psychiatry, Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Pendar, N.J., C.I Murdaugh, and M.A.Parsons. (2001). Health Promotion in Nursing Practice Fourth Edition 4th ed. New Jersey: RR Donelley. Herrisonburg, VA.

Waeng district public health, Office. (2560). Schizophrenia Registration, in Weang, Narathiwat province Budget year 2559, Waeng district, Narathiwat province: Office of the Public Health, Waeng, Narathiwat,

Warapongsathorn. T. (2538.) Principle of Public Health Science, 2nd edition Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

World Health Organization (1992). Schizophrenia and Behavior Disorders. Geneva.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20

วิธีการอ้างอิง