ผลการพัฒนาโปรแกรม Tracking ต่อคุณภาพการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ นามปรีดา กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลแพร่
  • สมเกียรติ ชุ่มใจ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:            ความสมบูรณ์และความทันเวลาของการบันทึกเวชระเบียนเป็นหัวใจสำคัญในดูแลรักษาผู้ป่วย     การนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการ การศึกษาด้านวิชาการและการเบิกชดเชยค่าบริการค่าบริการทางการแพทย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยข้อมูลในเวชระเบียนที่มีความสมบูรณ์ ความรวดเร็ว เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการและนำไปใช้ในการเบิกชดเชย ซึ่งกำหนดให้ส่งข้อมูลเรียกเก็บภายใน 30 วันหลังผู้ป่วยจำหน่าย                                                                                                                                                  วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรม Tracking ในการลดระยะเวลาการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลแพร่

วิธีการศึกษา:    การศึกษาแบบ Interrupted time design กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เวชระเบียนผู้ป่วยใน
ที่จำหน่ายของโรงพยาบาลแพร่ เป็นกลุ่มที่ไม่ใช้โปรแกรม Tracking จำนวน 1,053 แฟ้ม และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม Tracking  จำนวน 1,053 แฟ้ม เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่าย และเปรียบเทียบสัดส่วนความทันเวลาของการการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่าย ภายใน 15 วัน และ 20 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  t-test,  Exact probability test, Gaussian regression และ logistic regression

ผลการศึกษา:    กลุ่มที่ใช้โปรแกรม Tracking มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ใช้โปรแกรม Tracking อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าเฉลี่ยระยะการติดตาม 2.25 วัน (95% CI -2.66 − -1.84, p<0.001) มีความทันเวลาภายใน 15 วัน เป็น 2.55 เท่าของกลุ่มที่ไม่ใช้โปรแกรม Tracking (95% CI 2.13-3.05, p<0.001) และมีความทันเวลาภายใน 20 วัน เป็น 3.43 เท่าของกลุ่มที่ไม่ใช้โปรแกรม Tracking (95% CI 2.41-4.87, p<0.001)

สรุป:              การใช้โปรแกรม Tracking มีผลต่อคุณภาพการติดตามระบบเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยลดระยะเวลาเฉลี่ยการติดตามเวชระเบียนตั้งแต่จำหน่ายจนถึงการบันทึกโรค/หัตถการในโปรแกรม HOSxP รวมถึงความทันเวลาของการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่าย ภายใน 15 วัน และ 20 วัน เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย การวางแผนบริหารจัดการ การศึกษาด้านวิชาการได้รวดเร็ว ทันเวลาและเวชระเบียนผู้ป่วยในทุกฉบับส่งเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ได้ทันภายใน 30 วัน หลังจำหน่าย และโรงพยาบาลได้รับเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์เต็มจำนวน ไม่ถูกหักเงินกรณีส่งข้อมูลล่าช้า

คำสำคัญ:        โปรแกรม Tracking, เวชระเบียนผู้ป่วยใน, ระยะเวลาติดตามเวชระเบียน, คุณภาพการติดตามเวชระเบียน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง