การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์ โรงพยาบาลสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สมศิริ พันธุ์ศักดิ์ศิริ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลสระบุรี
  • ชลชิต รอดเดชา กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลสระบุรี
  • ผุสดี คุณาพันธ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสระบุรี

บทคัดย่อ

บทนำ:            การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลการให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและกิจกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานเปลแบบออนไลน์ ควบคู่ไปกับการใช้วิทยุสื่อสาร  และเพื่อให้ผู้รับบริการทราบสถานะ การบริการได้ในทันทีที่ขอใช้บริการ  กำหนดข้อตกลงบริการระหว่าง พนักงานเปลกับหน่วยที่ขอใช้บริการตามประเภทของผู้ป่วย ระบบ หน่วยงานต้นทางสามารถรับทราบสถานะของการบริการของพนักงานเปลได้เป็นปัจจุบัน (Real time)

วัตถุประสงค์:    เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลการให้บริการ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบออนไลน์ ศึกษาประสิทธิภาพของระบบบันทึกข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์ ในด้านเวลาที่ให้บริการ  ทรัพยากรที่ใช้ แรงงานที่ให้บริการ และประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่มีต่อการใช้โปรแกรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์

วิธีการศึกษา:    กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พนักงานเปล จำนวน 34 คน และ หัวหน้าหอผู้ป่วย หัวหน้าห้อง และผู้ปฏิบัติงานหน่วยละ 1 คน รวม 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบระบบงานเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยนำโมเดลการพัฒนาระบบมาประยุกต์ใช้ คือ วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) 2) แบบบันทึกข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลทรัพยากรที่ใช้ เวลาในการให้บริการ ภาระงานที่ให้บริการของพนักงานเปล และใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบการบันทึกข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระยะเวลาการให้บริการ กับเวลาที่ประกันการให้บริการ ด้วยสถิติ  One Sample  t-test

ผลการศึกษา    ระบบการบันทึกข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ทำให้ติดตามการให้บริการของพนักงานเปล ได้เป็นปัจจุบัน (Real time) การใช้งานมีความสะดวก รวดเร็ว พนักงานเปล และผู้เกี่ยวข้องที่ขอใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์ ทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบเวลาตามข้อตกลงบริการ กับเวลาที่ปฏิบัติจริง พบว่า จุดบริการแผนกผู้ป่วยนอกสามารถให้บริการ ผู้ป่วยประเภทปกติทั่วไป และประเภทด่วน ได้เร็วกว่าเวลาที่กำหนด (Service level agreement : SLA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สำหรับจุดบริการตึกอุบัติเหตุ พนักงานเปล สามารถให้บริการ ผู้ป่วยประเภทปกติ ทั่วไป และประเภทด่วน ได้เร็วกว่า เวลาตามข้อตกลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

สรุป:              ระบบการบันทึกข้อมูลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออนไลน์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ  การปรับปรุงคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลขององค์กร  ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบ ได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ

คำสำคัญ:        ระบบบันทึกข้อมูล,  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, โรงพยาบาลสระบุรี

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง