การพัฒนาและประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิก การประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ TTS (Tertiary trauma survey) ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • วาสนา สุขกันต์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท โรงพยาบาลแพร่
  • จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • กชพร พงษ์แต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

บทคัดย่อ

บทนำ             การประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ถ้ามีความผิดพลาดในการประเมินตั้งแต่ระยะแรกรับจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า ได้รับการทำหัตถการเพิ่มเติม และส่งผลต่อวันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น

วัตถุประสงค์:    เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ TTS (Tertiary trauma survey)

วิธีการศึกษา:     เป็นการศึกษาแบบ  Mixed Methods design ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท

โรงพยาบาลแพร่ โดยศึกษาปัญหา อุปสรรคของการใช้แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับรูปแบบเดิม ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงเดือน ธันวาคม 2561 นำมาพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิก กลุ่มควบคุมเริ่มศึกษา 1 มกราคม 2562 ถึง  30 มิถุนายน 2562 จำนวน 76 ราย กลุ่มทดลองเริ่มศึกษา 15 กรกฎาคม 2562 ถึง 15 ธันวาคม 25562 จำนวน 78 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แนวปฏิบัติทางคลินิกการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บ และแบบประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ TTS เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและความครอบคลุมในการประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา t-test และ exact probability test

ผลการศึกษา:     ผลการศึกษาด้านผลลัพธ์ พบว่า อัตราการเกิดความผิดพลาดจากการบาดเจ็บทั้งสองกลุ่มไม่       แตกต่างกัน (p=1.000) โดยกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติค้นพบความผิดพลาดจากการบาดเจ็บในหอผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 100 และ ร้อยละ 61.1) กลุ่มที่ใช้  แนวปฏิบัติสามารถกำหนดข้อวินิจฉัยตามปัญหาผู้ป่วย ได้ถูกต้อง ครอบคลุมมากกว่า กลุ่มที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 93.6 และ ร้อยละ 68.4) ส่วนด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 86.7

สรุป:              ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ได้รับการประเมินด้วยแนวปฏิบัติทางคลินิกการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ TTS จะได้รับการประเมินสภาพได้รวดเร็ว ทันเวลา และพยาบาลวิชาชีพ ความครอบคลุมใช้กระบวนการพยาบาลในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลมากขึ้น

คำสำคัญ:      การพัฒนา , ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิก,  การประเมินสภาพแรกรับ,  ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

วิธีการอ้างอิง