ผลของการป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ (Desaturation) ในผู้ป่วยหลังให้การระงับความรู้สึก แบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • นงเยาว์ ธราวรรณ โรงพยาบาลแพร่
  • ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด โรงพยาบาลแพร่
  • มิ่งสกุล แดนโพธิ์ โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:            การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทุกระยะของการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ควรให้การป้องกัน และรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องทันท่วงที โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดร่วมกับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของผู้ให้ยาระงับความรู้สึกจะช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนได้

วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำในผู้ป่วยหลังให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลแพร่ และเพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ และด้านของการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้

วิธีการศึกษา:    เป็นการศึกษาไปข้างหน้าโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิม (Historical controlled Design) ที่ห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น โรงพยาบาลแพร่ ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อการผ่าตัดระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 แบบฉุกเฉิน รวบรวมข้อมูลและอธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย t-test, Wilcoxon rank sum test, exact probability และ Mulivariable logistic regression

ผลการศึกษา:   ผู้ป่วยที่นำมาศึกษา 136 ราย พบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ส่วนใหญ่มี ASA Class มากกว่า 3 ที่ใช้เวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 38.7 นาที ภายหลังปรับความแตกต่างของเพศ อายุ เวลาของการได้รับการระงับความรู้สึก ASA Classification และผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบฉุกเฉินหรือนอกเวลาราชการแล้ว การใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ลดการเกิดภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำขณะแรกรับที่ห้องพักฟื้นได้ ร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติ ส่วนพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ เห็นว่าง่ายต่อการปฏิบัติ ร้อยละ 88.2 มีความสะดวกในการใช้ ร้อยละ 82.4 เนื้อหาสอดคล้องตามมาตรฐานการให้บริการทางวิสัญญี ร้อยละ 94.1 เห็นว่าแนวปฏิบัติฯ สามารถนำไปใช้ได้จริง ร้อยละ 88.2 และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 88.2

สรุป:              แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ (Desaturation) ในผู้ป่วยหลังให้การ ระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลแพร่ สามารถนำมาใช้ได้จริงลดการเกิดภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ และผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ

คำสำคัญ:         แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ, ภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ (Desaturation), การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง