การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • นุชรี จันทร์เอี่ยม โรงพบาบาลลำพูน
  • มาลีวรรณ เกษตรทัต โรงพบาบาลลำพูน
  • พรพิมล คุณประดิษฐ์ โรงพบาบาลลำพูน
  • ศศิประภา ตันสุวัฒน์ โรงพบาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

บทนำ:         โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่มีการระบาดในวงกว้าง ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันส่วนยารักษาจำเพาะยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย จึงส่งผลให้การระบาดกระจายได้อย่างรวดเร็วและอยู่ในระดับวิกฤต

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพัฒนาการจัดระบบงานและการปฏิบัติงานให้บริการผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรค COVID-19โรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา:   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลที่ปฏิบัติงานให้บริการด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 175 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา:  การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลลำพูนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.95, SD=0.74) ทั้งในด้านการบริหารจัดการคลินิกโรคทางเดินหายใจ การจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะโรค การบริหารจัดการและการบริการทั่วไป การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของบุคลากรการทำความสะอาดและระบบการฆ่าเชื้อสำหรับหอผู้ป่วยการกำหนดแนวทางปฏิบัติการดูแลคลังและอุปกรณ์สนับสนุน และการจัดการระบบการทำงานของบุคลากรการแพทย์ เป็นต้นและจากกิจกรรมพัฒนางาน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่าบุคลากรโรงพยาบาลลำพูน มีความรู้และทักษะการใช้ Personal Protective Equipment อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.26, SD= 0.67) และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ PPE อยู่ในระดับมาก (= 3.86, SD= 0.68)

สรุป:            การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและทักษะการใช้ PPE แก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ถือเป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บริการผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

คำสำคัญ:      การบริหารจัดการ, ระบบบริการพยาบาล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-03

วิธีการอ้างอิง