การศึกษาผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินของเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลตรัง

ผู้แต่ง

  • ชนัญชิตา รักษ์ทอง กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตรัง

บทคัดย่อ

บทนำ:             โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ เป็นสภาวการณ์เสื่อมของประสาทหูเนื่องจากการสัมผัสเสียงดัง ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการสูญเสียการได้ยิน การศึกษาผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และป้องกันอันตรายต่อการได้ยินของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรังต่อไป

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาสมรรถภาพการได้ยิน ความชุกของการสูญเสียการได้ยิน และเปรียบเทียบความแตกต่างของ อายุ อายุงาน ชั่วโมงการทำงาน และระดับเสียงดังขณะปฏิบัติงาน ในเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงของโรงพยาบาลตรัง ที่มีการได้ยินปกติ กับสูญเสียการได้ยิน

วิธีการศึกษา:  รูปแบบการศึกษา Analytic Cross - Sectional study ศึกษาในเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่มีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือขณะทำงานที่ก่อให้เกิดเสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล ทุกราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการทำงาน และแบบบันทึกข้อมูลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2565 อธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วย t-test และ Exact probability test

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 ราย เป็นเพศชายต่อเพศหญิงอัตราส่วน 1:1 มีอายุเฉลี่ย 41.7±9.9 ปี อายุงานเฉลี่ย 12.2±8.6 ปี ระยะเวลาทำงานเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 10.0±2.0 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ทุกแผนกมีสมรรถภาพการได้ยินในระดับปกติ พบความชุกของการสูญเสียการได้ยินชนิด Sensorineural Hearing Loss จำนวน 12 ราย ร้อยละ 18.8 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ อายุ อายุงาน ชั่วโมงการทำงาน และระดับเสียงดังขณะปฏิบัติงาน ของกลุ่มที่มีการได้ยินปกติกับกลุ่มที่สูญเสียการได้ยิน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.338, 0.351, 1.000 และ 0.977) สัดส่วนของอายุงานที่มากกว่า 10 ปี พบในกลุ่มที่สูญเสียการได้ยิน มากกว่ากลุ่มได้ยินปกติ (ร้อยละ 66.8 vs ร้อยละ 50.0)

สรุป:              โรงพยาบาลควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพในกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานสัมผัสกับเสียงดัง โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน

คำสำคัญ:      มรรถภาพการได้ยิน, ประสาทหูเสื่อมจากเสียง, การสูญเสียการได้ยิน, โรคจากการประกอบอาชีพ, ความชุก

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08

วิธีการอ้างอิง