ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่มในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สำราญ กาศสุวรรณ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ทัศนีย์ บุญอริยเทพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • รุ่งกิจ ปินใจ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กระบวนการกลุ่ม, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทนำ:  โรคความดันโลหิตสูงมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป การใช้กระบวนการกลุ่มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะช่วยส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา:  การทดลองในชุมชน แบบ 2 กลุ่มวัดผลก่อนหลัง ศึกษาในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีอายุตั้งแต่  35 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลและโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

ผลการศึกษา:  ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้มากกว่ากลุ่มควบคุม 3.30 คะแนน (p<0.001) คะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่า 5.03 คะแนน (p=0.007) ความดันโลหิต systolic     ต่ำกว่า 6.97 mmHg (p=0.001)  ความดันโลหิต diastolic  ต่ำกว่า`8.45 mmHg (p<0.001)  ส่วนค่าดัชนีมวลกายไม่   แตกต่างกัน (p=0.665)

สรุป:   การใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถเพิ่มความรู้ และปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม     ส่งผลให้มีการควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น

คำสำคัญ:  โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กระบวนการกลุ่ม, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization and Imperial College London joint press release. More than 700 million people with untreated hypertension [Internet]. Switzerland; 2021 [cited 2022 May 20]. Available from: https: //www.who.int/news/item/25-08-2021-more-than-700-million-people -with-untreated-hypertension

World Health Organization. Hyper- tension [Internet]. Switzerland; 2021 [cited 2022 May 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/hypertension

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 [อินเทอร์ เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thai ncd.com/document/hot%20news/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_62.pdf

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดย การตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กองโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.thaincd.com/2016/mission3

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ฐาน ข้อมูล Health Data Center (HDC) [อินเทอร์ เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pre.hdc. moph.go.th/hdc/main/ index.php

โรงพยาบาลร้องกวาง. สถิติผู้ป่วยปี 2561-2564. แพร่: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารโรงพยาบาล ร้องกวาง; 2564.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561 [อินเทอร์ เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thai ncd.com/document/file/info/non-communicable-disease/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_61.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society). โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihyper tension.org/information.html

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ. ความดันโลหิตสูงกับการออกำลังกาย: บทบาทของพยาบาล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2555.

ประหยัด ช่อไม้, อารยา ปรานประวิตร. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ 2558;10(1):15-24.

บุญเลิศ จันทร์หอม. ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตําบลวังแดง อําเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2564; 8(1):10-5.

กัลยา ถาวงค์, เมธินี ศรีสวัสดิ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564;8(2):103-19.

พิเชษฐ์ หอสูติสิมา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ตําบลจระเข้หิน อําเภอ ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสาร วิชาการ สคร.9 2562;25(2):56-66.

ฉัตรลดา ดีพร้อม, นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2562;38(4):451-61.

รัตนา เกียรติเผ่า. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตําบลทัพทัน อําเภอทัพทัน จังหวัดอุทัย ธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(3):405-12.

วิชาญ มีเครือรอด. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิต ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563;1(1):70-85.

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, กมลพรรณ วัฒนากร, ขวัญตา กลิ่นหอม, พัชรนันท์ รัตนภาค. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ในชุมชนหนองพลับ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2559;32(2):105-18.

มณีวรรณ ดอนทราย, สรัญญา ถี่ป้อม. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมและการรับรู้ความ สามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อาศัยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนเมี่ยง. วารสาร วิชาการอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;13(1):65-75.

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา, สุภาพร แนวบุตร, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2562;46(2):95-107.

สุภารัตน์ สีดา, จารุวรรณ ไตรทิพยสมบัติ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาตอการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตําบลโคกสนวน อําเภอชํานิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยคณะสาธารณ สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน 2559;9(1):40-7.

ศิริพร คางคีรี, ชุลีกร ดานยุทธศิลป์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. โปรแกรมการสงเสริมสุขภาพตอพฤติกรรมสุขภาพดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตของกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563;14(1):80-96.

ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ผลของโปรแกรมปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 2556;31(4):97-104.

อัมพร วงค์ติ๊บ, นงเยาว์ อุดมวงศ์, รังสิยา นารินทร์. การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. พยาบาลสาร 2558;42(4):12-24.

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์, สุทธีพร มูลศาสตร์, ฉันทนา จันทวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(1):42-51.

นวพร วุฒิธรรม, รัตนา ช้อนทอง, ชุติญา สมประดิษฐ์. ผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;21(1):309-18.

นงนุช จันทร์ศรี. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ของบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557;10(3):251-59.

เยาวดี ศรีสถาน. ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการเฝ้าระวังตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2565;5(1):36-45.

Marram GD. The group approach in nursing practice. 2nd ed. Saint Louis: The C.V. Mosby Company; 1978.

สมัชชาสุขภาพจังหวัดนนทบุรี. สุขภาพดี วิถีเมือง: การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://kbphpp.National health.or.th/bitstream/handle/123456789/3123/25150129-Nontha buri-NCD's.pdf?sequence=&isAllowed=y

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. พฤติกรรม สุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://elearning.nsru.ac.th/ 2550/ ebook _4000104/lesson1/resou rces/ resource_1/content/screen11.htm

ธนัชพร มุลิกะบุตร. ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://courseware.npru.ac. th/ admin/files/20190108145714_ b245294c9d7a 65216ca88ceb13 fabce8.pdf

He FJ, Li J, Macgregor GA. Effect of longer term modest salt reduction on blood pressure: Cochrane systematic review and meta-analy sis of randomised trials. BMJ 2013; 346:f1325. doi:10. 1136/bmj.f1325.

Fegard RH, Cornelissen VA. Effect of exercise on blood pressure control in hypertensive patients. European Journal of Preventive Cardiology 2007;14(1):12-7.

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์. โรคอ้วนคืออะไรและกลยุทธ์ในการลดน้ำหนัก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.synphaet.co.th/โรคอ้วนคืออะไร และกลยุทธ์/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17

วิธีการอ้างอิง