ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ฉัตรสุดา จำรัส อายุรกรรมชาย 1โรงพยาบาลแพร่
  • ขนิษฐา แก้วพรม อายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลแพร่
  • สายพิณ โสภารัตนากูล อายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลแพร่
  • เทวัญ ยอดยิ่ง อายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลแพร่
  • นราวิชญ์ เหล่ากาวี อายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลแพร่

คำสำคัญ:

การป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา, การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก

บทคัดย่อ

บทนำ:  ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วยเป็นปัญหาสำคัญในการให้บริการสุขภาพที่มีผลกระทบต่อตัวชี้วัดด้านคุณภาพการพยาบาล การจัดการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาที่ดีจะช่วยให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัยในชีวิตผู้ป่วย

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาของพยาบาลหลังมีการใช้แนวปฏิบัติ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย

วิธีการศึกษา:    เป็นวิจัยปฏิบัติการ (operations research) ทำการศึกษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 53 คนที่ทำหน้าที่บริหารยาในช่วงที่มีการใช้แนวปฏิบัติและยินยอมเข้าร่วมงานวิจัย เครื่องมือในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบประเมินความรู้ในการบริหารยา 4) แบบรายงานการเกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงก่อนนำมาใช้ในการศึกษา ดำเนินการศึกษาตามกรอบแนวคิดของสภาวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1999; 2000)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย

ผลการศึกษา:    ก่อนมีการใช้แนวปฏิบัติกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในการบริหารยาอยู่ในระดับดีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.1 หลังมีการใช้แนวปฏิบัติกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับดีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.7 (p<.001) และอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาก่อนการใช้แนวปฏิบัติเท่ากับ 4.19 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน หลังมีการใช้แนวปฏิบัติลดลงเป็น 2.09 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน

สรุป: แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลแพร่ สามารถเพิ่มความรู้ในการบริหารยาของพยาบาล และลดการเกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาของพยาบาลได้ หากมีการเก็บข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้นสามารถนำไปพัฒนาใช้ต่อเพื่อเป็นประโยชน์ในทางคลินิกได้

คำสำคัญ: การป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา     การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก

 

เอกสารอ้างอิง

National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention (NCC MERP), 1998) National Coor- dinating Council for Medication Error Reporting and Prevention (NCC MERP). Taxonomy of medication errors [Internet]. 1998 [cited 2019 August 31]; Available from: https:// www.nccmerp.org/sites/default/ files/taxonomy2001-0731. pdf

โรงพยาบาลแพร่. รายงานการประชุมความคลาดเคลื่อนในการให้ยา. แพร่: กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่; 2561.

โรงพยาบาลแพร่. รายงานการประชุมความคลาดเคลื่อนในการให้ยา. แพร่: กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่; 2562.

มัชฌิมา กิติศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทาง คลินิกสำหรับการป้องกันความคลาด เคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วยหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงพยาบาลนครพิงค์; 2551.

ฉัตรสุดา จำรัส, สมจิตร สุทธนะ, สายพิน โสภารัตนากูล, กรกฎ พิจอมบุตร, สุมาลี สงวนศักดิ์, ทิพย์วรรณ ประสาสน์ศักดิ์ และคนอื่น ๆ. แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลแพร่. แพร่: โรงพยาบาลแพร่; 2563.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guid- elines [Internet]. 1999 [cited 2019 August 29]; Available from https:// www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/publications/ attachments/cp30.pdf

National Health and Medical Research Council. How to put the evidence into practice: implement- tation and dissemination strategies. [Internet]. 2000 [cited 2019 August 29]; Available from: https://www. nhmrc.gov.au/sites/default/files/2018-03/how-to-put-the-evidence-into-practice-implementation-and-dissemination.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17

วิธีการอ้างอิง