ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการเกิดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายส่งผลให้เกิดการคั่งค้างในระบบไหลเวียน จนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หายใจเหนื่อยหอบ และเสียชีวิตตตามมาในที่สุด การจัดการตนเองช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก่อนการฟอกเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน
วิธีการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 37 คนที่ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ สถิติ pair t - test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก่อนการฟอกเลือกน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวพน้ำเกินไปใช้ ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปใช้ในการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คำสำคัญ: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การจัดการตนเอง, ภาวะน้ำเกิน
เอกสารอ้างอิง
Csaba PK. Epidemiology of chronic kidney disease: an update 2022. Kidney Int Suppl 2022;12(1):7–11.
วาณิชา พึ่งชมพู. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2559.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, เพชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไจเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563;6(2):5-20.
Costa RHS, Dantas ALdM, Leite ÉMD, Lira ALBdC, Vitor AF, Silva RARd. Complications in renal patients during hemodialysis sessions and nursing interventions. J Resfundam Care 2015;7(1):2137-46.
วลี กิตติรักษ์ปัญญา, นิภารรณ สามารถกิจ, เขมารดี มาสิงบุญ. ผลของการจัดการตนเองร่วมกับการจัดการทางคลินิกต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสภาการพยาบาล 2565;28(2):109-22.
ธิดารัตน์ เพรชชัย, ศรีสุดา มิ่งแก้ว, เยาวลักษณ์ นนทภา, วไลพร คำทอง, พรทิพา โฮมราช, อัญชลี ปิยลังกา, และคณะ. ผลของการใช้แนวคิดการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลสิริกิติ์. วารสารแพทย์นาวี 2561;45:106-20.
Kanfer HF, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In FH Kanfer, AP Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods (p. 305-60). New York: Pergamon press; 1991.
Slensisck N, Pienkos S, Sun S, Doss-McQuitty S, Schiller B. The chronic disease self-management program-A pilot study in patients undergoing hemodialysis. Nephrology News & Issues 2015;29(4):30 -2.
Chorina MN, Anggri NZ. Social support and self-management among end-stage renal disease patients undergoing hemodialysis in Indonesia. J Public Health Res 2022;11(2);1-5.
สาวิกา อร่ามเมือง, กรองกาญจน์ ลังกาศ, สุวิมล กิมปี, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจำกัดน้ำของผู้ป่วยไตวานเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557;30(3):74-81.