การวิเคราะห์ภาพดิจิตอลทางรังสี ที่ไม่สามารถนำไปวินิจฉัยโรคได้ (reject image) โรงพยาบาลนครปฐม

Authors

  • สมหมาย กันทะเมืองลี้

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ อัตรา ภาพคอมพิวเตอร์ทางรังสีที่ถูกคัดภาพออก (reject image)
และเพื่อหาแนวทางการลดอัตราภาพคอมพิวเตอร์ทางรังสีที่ถูกคัดภาพออก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยศึกษาการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ภาพจากระบบ   คอมพิวเตอร์ (CR) 103,936 ภาพ มีจำนวนภาพที่ไม่สามารถนำไปวินิจฉัยโรคได้ (reject image) 2,603 ภาพ อัตราการคัดภาพออกร้อยละ 2.50 (มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน American College of Radiology (ACR) ตั้งแต่ มกราคม 2557 - ธันวาคม 2557 ระยะเวลา12 เดือน โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ (CR) จากห้องถ่ายภาพรังสีทั่วไป 3 จุดคือห้องเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก (OPD) ห้องเอกซเรย์อุบัติเหตุ (ER) และห้องเอกซเรย์กลุ่มงานรังสีวิทยา (X1) ผลการศึกษา : อัตราคัดภาพออกน้อยที่สุดมาจากห้องเอกซเรย์กลุ่มงานรังสีวิทยา (X1) ร้อยละ 0.28 ห้องเอกซเรย์อุบัติเหตุ (ER) ร้อยละ 1.02 จากห้องเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก (OPD) ร้อยละ 1.19 สาเหตุแรกการจัดท่าผู้ป่วย (position) ร้อยละ 2.02 รองลงมาผู้ป่วยไหวตัวขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ (motion) ร้อยละ 0.26 และการให้ปริมาณรังสีน้อยเกินไป (under exposure) ร้อยละ0.10 ตามลำดับหลังจากการพัฒนาคุณภาพภาพถ่ายรังสีทำให้มีคุณภาพดีขึ้นทำให้ภาพเสียของโรงพยาบาลนครปฐมลดลงน้อยกว่าร้อยละ 3 สรุป : สาเหตุที่ถูกคัดภาพออกจำแนกตามตำแหน่งห้องถ่ายจากห้องเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก (OPD) มีจำนวนที่ถูกคัดภาพออกมากสุดเพราะจุดนี้มีผู้ป่วย มาถ่ายภาพรังสีเป็นจำนวนมากกว่าจุดอื่น สาเหตุคัดภาพออกมาจาก ผู้ป่วยหูไม่ได้ยินหายใจเข้าไม่เต็มที่ มีสร้อย พระ ตะกรุด ผู้ป่วยต่างด้าว เป็นต้นห้องเอกซเรย์อุบัติเหตุ (ER) ผู้ป่วยต้องใช้รถเข็น รถนั่ง รถนอน บางครั้งผู้ป่วยดิ้นไม่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนห้องเอกซเรย์กลุ่มงานรังสีวิทยา (X1) จำนวนที่ถูกคัดภาพออกสาเหตุมาจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในที่นอนโรงพยาบาล ให้ออกซิเจน เดินไม่ได้ ลุกไม่ได้ บางครั้งไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น

คำสำคัญ : ภาพรังสีที่ถูกคัดออกภาพดิจิตอลการวิเคราะห์

Published

2018-04-19