ความชุกและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหนอนพยาธิของประชาชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2559
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ใช้วิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional analytic
study) เพื่อศึกษาความชุกโรคหนอนพยาธิระดับของความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิ ของประชาชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ศึกษา
ความชุกของโรคหนอนพยาธิ ในประชาชนที่มีอายุ ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 2,846 ราย โดยเก็บตัวอย่าง อุจจาระส่งตรวจหาไข่พยาธิด้วยวิธีการ Modified Kato Kazt และส่วนที่สอง ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคหนอนพยาธิและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิของประชาชน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 327 รายวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi - Square) และสถิติเชิงวิเคราะห์ทดสอบการถดถอยแบบโลจีสติก (Binary logistic regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า ด้านความชุก พบกลุ่มตัวอย่างติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ จำนวน 543 ราย คิดเป็น ร้อยละ 19.08 โดยจำแนกการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับสูงสุด ร้อยละ 59.4 รองลงมา คือ พยาธิไส้เดือน ร้อยละ44.3, พยาธิตืดหมู วัว ร้อยละ 22, พยาธิแส้ม้า ร้อยละ 20.4, พยาธิปากขอ ร้อยละ 9.91, และพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 4.02 ด้านปัจจัยกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหนอนพยาธิในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.50),ด้านทัศนคติความเชื่อเกี่ย่วกับโรคหนอนพยาธิ มีทัศนคติเชิงบวกสูงสุดอยู่ในระดับดี ร้อยละ 38.5 และมีพฤติกรรมในระดับเสี่ยง ร้อยละ 63.90 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิพบว่า ปัจจัยด้านบุคคล คือ เพศชาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหนอนพยาธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลาบเนื้อหมู วัว ควาย ลาบปลาดิบ รวมถึงแหนมรวมถึงรับประทานตำส้มที่ใส่ปลาร้า ปู สุกๆ ดิบๆ,การไม่ล้างผักให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหาร, การไม่สวมใส่รองเท้าในขณะออกจากบ้าน พบมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การวิจัยนี้พบว่าแม้ประชาชนจะมีความรู้เกี่ยวกับโรคหนอนพยาธิในระดับปานกลาง การมีทัศนคติเชิงบวกที่ดีต่อการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหนอนพยาธิ แต่ยังคงพบพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิข้อเสนอแนะ (p = 0.023) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และทัศนคติไม่พบ ความสัมพันธ์ (p > 0.05) และพฤติกรรมป้องกันโรคโรคหนอนพยาธิ ที่ไม่ปลอดภัยและพฤติกรรมเสี่ยง พบความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000, OR. =10.97, 95%CI4.63 - 26.01 และ p = 0.002 , OR. =3.06 ,95%CI 1.43 - 6.11 ตามลำดับ) และพบพฤติกรรมเสี่ยง คือ การไม่ล้างมือ ก่อนการกินอาหารหลังการขับถ่ายอุจจาระ ทุกครั้ง, การรับประทานอาหารประเภท ควรแก้ไขปัญหา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมและถูกต้อง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งการกำหนดนโยบายสาธารณะ การสร้างสิ่งแวดล้อมและมาตรการทางสังคมให้เอื้อต่อการป้องกันและควบคุมโรค โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนต่อไป คำสำคัญ : ความชุก โรคหนอนพยาธิ พฤติกรรมเสี่ยง