ผลการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการสวนล้างต่อค่าเฉลี่ยคะแนนทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2

Authors

  • Arunrat Uthaisang Nakhon Phanom Nursing of college, Nakhon Phanom University
  • Khunphitha Junsevg Nakhon Phanom Nursing of college, Nakhon Phanom University
  • Nuttiya Pommasaka Na Sakonnakhon Nakhon Phanom Nursing of college, Nakhon Phanom University
  • Amornrat Sangsaikaew Nakhon Phanom Nursing of college, Nakhon Phanom University

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsqw)ในเรื่องกระบวนการสวนล้าง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 146 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่องการสวนล้างมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p ≤.01 และนักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

สรุป: การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์สามารถเพิ่มระดับความรู้ของผู้เรียนได้สำเร็จ

คำสำคัญ:  การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์;  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;  นักศึกษาพยาบาลศาสตร์

 

Background and Objectives: The jigsaw cooperative learning technique can encourage all learners to participate in the study. The purpose of this study was to compare the mean scores of the students’learning achievement before and after using the jigsaw cooperative learning technique to aid student learning about irrigation procedures.

Methods:  A quasi-experimental research approach was used. The population consisted of 146 second year nursing students who were selected through a purposive sampling method. The research instruments were the average score and a satisfaction evaluation form. Data were analyzed by paired t-test.

Results: It was found that the students’ knowledge after using the jigsaw cooperative learning technique on irrigation procedures was significantly higher than before at the .01 level. In addition, the students’ satisfaction was at the highest level.

Conclusion:  The jigsaw cooperative learning technique can be successfully used to improve the level of student knowledge.

Keywords: Jigsaw cooperative learning; Achievement; Nursing student

 

Downloads

Published

2021-09-29

Issue

Section

Original Articles