การผลิตหุ่นจำลองสาธิตการล้างไตผ่านช่องท้อง

Authors

  • Piyanat Sudee Medical Illustration Faculty of Medicine Khon Kaen University
  • Kan Komany Medical Illustration Faculty of Medicine Khon Kaen University
  • Songpol U-Pachitakul Medical Illustration Faculty of Medicine Khon Kaen University
  • Dodsadee Musikpodok Medical Illustration Faculty of Medicine Khon Kaen University
  • Ornuma Penreabroy Medical Illustration Faculty of Medicine Khon Kaen University

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: หุ่นจำลองสาธิตการล้างไตผ่านช่องท้องเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองหรือเลียนแบบของจริงโดยใช้วัสดุทดแทนในลักษณะ 3 มิติ สามารถแสดงรายละเอียดของโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ ไม่เพียงแค่ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ง่ายแต่ยังสามารถทำการศึกษาได้ตลอดเวลา ทั้งยังสามารถฝึกฝนทักษะด้วยหุ่นจำลองได้บ่อยครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญด้วย หุ่นจำลองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยทดแทนและสามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการฝึกปฏิบัติในทางการแพทย์ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน การรักษาพยาบาลและการบริการ โดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องใช้ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีการฝึกจากหุ่นจำลองให้เกิดความชำนาญก่อนที่จะดูแลผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ป่วยโรคไตที่ต้องได้รับการรักษาโดยการล้างไตผ่านช่องท้อง ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย และพยาบาลผู้สอนวิธีการล้างไตผ่านช่องท้อง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่หุ่นจำลองสาธิตการล้างไตผ่านช่องท้อง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อหุ่นจำลองการล้างไตผ่านช่องท้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา: พบว่า หุ่นจำลองสาธิตการล้างไตผ่านช่องท้องมีคุณภาพ สามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจและทำการล้างไตผ่านช่องท้องได้อย่างถูกวิธี และมีความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองการล้างไตผ่านช่องท้อง โดยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.3

สรุป:  พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสาธิตการล้างไตโดยใช้หุ่นจำลองได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองได้

คำสำคัญ: หุ่นจำลองสาธิตการล้างไตผ่านช่องท้อง, โรคไตเรื้อรัง, การวิจัยเชิงพัฒนา

Background and Objective: The model is built to simulate or duplicate a real object using renewable materials in 3D. It shows details of different structures and components. Not only making the learning process easier, but also the model can be studied all the time. The model helps to learn practically to earn skills. Medical models are therefore another alternative and used as an example of clinical practice in teaching, study, medical treatment and services. Especially chronic kidney disease patients who require experts in patient care. It is necessary to bring the model for training before taking care of patients.

Methods: This study was a developmental research. 30 volunteers from relatives, caregivers of patients and peritoneal dialysis nursing instructors were the experimental groups. The study instruments were the model for demonstrating peritoneal dialysis and satisfaction questionnaires. Statistic measures for data analysis were percentage and mean.

Results: A quality of the demonstrating peritoneal dialysis model could be used to test the peritoneal dialysis process. The experimental groups learned and understood practically and had a high level of satisfaction at 4.3.

Conclusion: The experimental groups were able to learn to understand and practically use of the dialysis demonstration by using the model. Carried out on their own.

Keywords: Model for demonstrating Peritoneal Dialysis, Chronic kidney disease, Developmental research

Downloads

Published

2021-09-29

Issue

Section

Original Articles